Posed on..13 Feb 2018 By..Jira Tungvichitreak, Ratchadakorn Udomrit and Narisara Mataworn
หลังจากที่บทความก่อนหน้านี้ เราได้ทำความเข้าใจในหัวข้อเรื่อง "ประเภทของเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์" กันไปแล้ว โดยบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง
ในการผลิตเครื่องแก้ววัดปริมาตรจำเป็นจะต้องมีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีคุณลักษณะเป็นตามหลักมาตรฐานสากล ซึ่งมาตรฐานสากลและวิธีการสอบเทียบที่กำหนดโดยองค์กร ที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีดังนี้
■ American Society for Testing and Materials (ASTM) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
■ National Institute of Standards and Technology (NIST) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
■ Internationals Organization for Standardization (ISO) ของประเทศอังกฤษ
■ Deutsches Institut for Normung (DIN) ของประเทศเยอรมัน
จากองค์กรสากลข้างต้น จะมี 2 องค์กรสำคัญที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการควบคุมคุณภาพเครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Glassware) ก็คือ American Society for Testing and Materials (ASTM) และ Deutsches Institut for Normung (DIN) ซึ่งทั้ง 2 เป็นองค์กรในด้านของการพัฒนามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกเมื่อเทียบกับองค์กรอื่น แต่ส่วนใหญ่แล้วคนจะเลือกใช้เครื่องแก้วที่ได้รับมาตรฐานจาก ASTM มากกว่ามาตรฐานจาก DIN เพราะเครื่องแก้วที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพจาก ASTM จะมีความแม่นยำมากกว่า เนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร (Tolerance) ต่ำกว่า
โดยมาตรฐาน ASTM ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับข้อกำหนดคุณลักษณะ (Specification) ของเครื่องแก้ววัดปริมาตรแต่ละชนิด ไว้ดังต่อไปนี้
เครื่องแก้ววัดปริมาตรเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญสำหรับห้องปฏิบัติการวิจัยเป็นอย่างมาก เพราะมักใช้ทั้งในการทดสอบทางเคมีและชีวภาพ รวมถึงในอุตสาหกรรมต่างๆ ชนิดของเครื่องแก้ววัดปริมาตรที่มักมีใช้ทั่วไปในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ กระบอกตวง (Cylinder), ขวดวัดปริมาตร (Volumetric Flask), ขวดวัดความถ่วงจำเพาะ (Pycnometer Bottle), บิวเรตต์ (Burette) และปิเปตต์ (Pipette) ซึ่งหลักการใช้งานของเครื่องแก้วแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่เป็นได้ทั้งแบบบรรจุ (to contain) และแบบส่งผ่าน (to deliver) เป็นอุปกรณ์รูปทรงกระบอก มีฐานเป็นทรงหกเหลี่ยม สำหรับให้สามารถวางบนพื้นได้ ปากกระบอกมีจงอยเพื่อใช้สำหรับการตวงวัดปริมาตรของของเหลว กระบอกตวงมักถูกใช้ในกรณีที่การทดสอบนั้นๆ ไม่ได้ต้องการความแม่นยำสูง กระบอกตวงของ BOROSIL มีขีดบอกปริมาตรทั้งแบบสีขาวและแบบสีชา และมีขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ 5 ml - 2,000 ml โดยอักษรบนกระบอกตวง (inscriptions on cylinder) มีรายละเอียดดังรูปด้านล่างนี้
Credit : Borosil Glass Works Ltd.
► การอ่านปริมาตรของสารละลายสำหรับเครื่องแก้ววัดปริมาตร
การอ่านปริมาตรเครื่องแก้วให้อ่านที่ส่วนโค้งล่างของผิวของเหลว (menicus) สัมผัสกับขอบบนของขีดกำหนดปริมาตร โดยสายตาของผู้อ่านต้องอยู่ระดับเดียวกับส่วนโค้งล่างของผิวของเหลว ดังรูป
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://jan.ucc.nau.edu/~jkn/Chem%20151%20Manual%20Intro1&2.htm
เป็นอุปกรณ์ที่มีฐานวางพื้นได้อย่างมั่นคง คอยาว มีขีดบอกปริมาตร เนื้อแก้วมีทั้งแบบสีใสและแบบสีชา มีจุกฝาปิด (Stopper) ขวดวัดปริมาตรมักใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นที่แน่นอน เช่น ใช้เตรียมสารละลายมาตรฐาน โดยมีขนาดตั้งแต่ 1 ml - 2,000 ml
จุกปิด (Stopper) ของ BOROSIL มีให้เลือกใช้ทั้งแบบจุกฝาแก้ว (Glass Stopper) และจุกฝาพลาสติก (PP Stopper) และตัวเลขขนาดของฝา เช่น 14/23 โดยเลข 14 หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลาง และเลข 23 หมายถึง ความสูงของจุกปิด (สามารถดูรายละเอียดและรูปตัวอย่างสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ รหัส 8100 : Glass Stopper และ รหัส 8300 : PP Stopper)
Credit : Borosil Glass Works Ltd.
ขวดวัดความถ่วงจำเพาะ หรือ ขวดพิคโนมิเตอร์ เป็นขวดที่ไม่มีขีดบอกปริมาตร (Graduated) มักใช้สำหรับวัดความถ่วงจำเพาะของของเหลว โดยการบรรจุของเหลวจนเต็ม ปิดจุกขวด แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการไตเตรท (Titration) เป็นหลอดแก้วใส ยาว ปลายเปิด เนื้อแก้วมีทั้งแบบสีใสและแบบสีชา ขีดบอกปริมาตร (Graduated) มีทั้งแบบสีใสและสีชา และมีก๊อกสำหรับเปิด-ปิด (Stopcock) ซึ่งทำจากแก้วหรือพลาสติกเนื้อ PTFE อยู่ทางปลายด้านล่าง เพื่อช่วยควบคุมอัตราการไหลของสารละลาย โดยมีขนาดตั้งแต่ 10 ml - 100 ml
► จุกก๊อกเปิด-ปิด (Stopcock) สำคัญอย่างไร?
จุกก็อกเปิด-ปิด ใช้หมุนเพื่อควบคุมให้ของของเหลวไหลออกทางปลายท่อ ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มี 2 แบบ คือ แบบที่ทำด้วยแก้ว (Glass Stopcock) และที่ทำด้วยเทพลอน (PTFE Stopcock) ก๊อกเปิด-ปิด ที่ทำด้วยแก้ว ก่อนใช้ต้องทาวาสลีนหรือจาระบี (grease) บางๆลงไปก่อน บริเวณหัว-ท้าย เพื่อให้หมุนได้คล่องและไม่รั่ว แต่ไม่ควรทามากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการอุดตันได้
ข้อควรระวัง คือ อย่าปล่อยสารละลายหรือของเหลวจนเลยขีดบอกปริมาตรที่ต่ำสุดของบิวเรตต์ลงมา เพราะจะทำให้เราไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาตรทั้งหมดที่ปล่อยลงมามีค่าเท่าใด
Credit : Borosil Glass Works Ltd.
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตวงหรือวัดปริมาตรของสารละลายให้ได้ปริมาตรที่แน่นอน มีความถูกต้องแม่นยำสูง ขีดบอกปริมาตรมีทั้งแบบสีขาวและแบบสีชา ปิเปตต์แบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ
4.1 ปิเปตต์วัดปริมาตร (Volumetric Pipette หรือ Transfer Pipette) มีลักษณะเป็นกระเปาะแก้วป่องบริเวณตรงกลางปิเปตต์ มีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียว ดังนั้นจึงวัดปริมาตรได้เพียงค่าเดียว ใช้ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำสูง
Credit : Borosil Glass Works Ltd.
4.2 ปิเปตต์ชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร (Measuring Pipettes หรือ Graduated Pipette) มีขีดบอกปริมาตรหลายขีดที่ระดับปริมาตรต่างๆ ทำให้สามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย แต่มีความแม่นยำน้อยกว่าปิเปตต์วัดปริมาตร เมื่อเทียบที่ขนาดความจุเท่ากัน และแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย ดังนี้
Credit : Borosil Glass Works Ltd.
Blow-out / Two Rings : เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฎบนปิเปตต์ ซึ่งอาจเป็นวงสีขาวหรือวงแถบสีต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้กรดกัดแก้ว อยู่บริเวณใกล้ปลายก้านด้านบนที่เอาไว้เสียบกับอุปกรณ์ช่วยดูด (Pipette aid) เพื่อแสดงว่าการถ่ายของเหลวจากปิเปตต์ชนิดนี้นั้น ต้องเป่าสารละลายหรือของเหลวออกจนหมด
วงแถบสีที่แสดงอยู่บนปิเปตต์ (Pipette) แสดงถึงอะไรกันนะ?
หลายคนก็คงยังสงสัยกันอยุ๋บ้างว่า แถบวงสีที่ปรากฎอยู่บริเวณด้านบนของปิเปตต์ ใกล้กับด้านที่เสียบกับอุปกรณ์ช่วยดูด มันมีความหมายอย่างไร และแถบวงสีแต่ละสีนั้นบ่งบอกถึงอะไร เรามาลองศึกษาจากตารางและรูปภาพด้านล่างกันเลยค่ะ...
Credit : Borosil Glass Works Ltd.
จากความรู้ในเรื่องเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ เครื่องแก้ววัดปริมาตรที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้ว่าเครื่องแก้วนั้นมีหลากหลายประเภทให้เราได้เลือกใช้ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีรูปร่างลักษณะ และจุดประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกันออกไป มีข้อมูลเล็กๆน้อยๆให้เราได้ลองสังเกตและศึกษาไว้เป็นความรู้ และสิ่งสำคัญอีกอย่างที่เราควรให้ความใส่ใจ คือเรื่องความสะอาดของเครื่องแก้ว เมื่อเราเลือกใช้เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์เหล่านี้เป็นแล้ว ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็อย่าลืมดูแลรักษาความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง เพื่อการพร้อมใช้งานในครั้งต่อๆไป และจะทำให้เราได้ผลการทดลองที่แม่นยำ ผิดพลาดน้อย เราจะได้มีเครื่องแก้วใช้ไปนานๆ ด้วยนะคะ ^^
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก...
1. "อุปกรณ์วัดปริมาตร (volumetric apparatuses) มหาวิทยาลับมหิดล", [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/balances/volumetric_equipment/blow_out_pipet.htm (2 กุมภาพันธ์ 2561).
2. อาจารย์อุมาพร สุขม่วง สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ "เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรเทคนิคการใช้เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ" . 11 พฤษภาคม 2558.
3. พรพรรณ ผายพิมพ์, 2554, "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องแก้ววัดปริมาตร", [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/48/ContentFile816.pdf (4 กุมภาพันธ์ 2561).
____________________
< PREVIOUS ARTICLE
<=