การวัดค่า pH เป็นเทคนิคเชิงวิเคราะห์ที่มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานในงานด้านต่างๆมากมาย เช่น ด้านความปลอดภัยของอาหาร ด้านความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ ด้านสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ใช้งานจึงต้องมีความมั่นใจในคุณภาพของการวัดเป็นอย่างมากเพื่อให้แน่ใจว่าผลที่ได้นั้นเกิดจากตัดสินใจที่ถูกต้อง หากการวัดค่า pH มีคุณภาพต่ำ จะทำให้ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผลที่ไม่ถูกต้อง
หนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อความแม่นยำในการวัดค่า pH คือการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง pH อิเล็กโทรดอย่างถูกวิธี หากทำไม่ถูกวิธีจะทำให้อายุการใช้งานของอิเล็กโทรดสั้นลงและเพิ่มค่าจ่ายในการทดลองอีกด้วย ในทางกลับกันหากทำการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงให้ถูกวิธี จะช่วยยืดอายุการใช้งานของอิเล็กโทรดและได้ผลที่ถูกต้องทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจในผลการทดลองที่ได้จากการวัดค่า pH นั้นๆ
ดังนั้นการหาสาเหตุของข้อผิดพลาดตลอดจนการหาทางแก้ไขที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวัดค่า pH เอกสารฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการวัดค่า pH ในกรณีที่เกิดปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการตามขั้นตอนในเอกสารนี้เพื่อแก้ปัญหาได้ ส่งผลให้ค่า pH ถูกต้องและหลีกเลี่ยงการทำซ้ำ
การวินิจฉัยความผิดปกติ
ในการวัดค่า pH ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังต่อไปนี้
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการวัดที่ผิดพลาด การหาสาเหตุของปัจจัยเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้ใช้งาน ดังนั้นความพยายามหาสาเหตุของปัญหาแล้วทำการปรับปรุงแก้ไขจะช่วยให้กำจัดข้อผิดพลาดและป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้
ความผิดปกติของตัวเครื่อง
pH meter เป็นเครื่องมือทั่วไปที่เกิดปัญหาน้อยในการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาย่อมเกิดขึ้นได้ การสอบเทียบอิเล็กโทรดเป็นประจำด้วยบัฟเฟอร์มักจะไม่ใช่สาเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดจากตัวเครื่อง แต่ปัญหาโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากส่วนอื่นๆในการวัด ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่พร้อมใช้เครื่องมือพิเศษในการวินิจฉัยอย่างละเอียดถี่ถ้วน
ด้วยเหตุผลนี้เองการสอบเทียบประจำปีจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้เครื่องมือนี้ รวมไปถึงการตรวจสอบการทำงานของแต่ละส่วนประกอบให้ตรงตามโรงงานที่ผลิตกำหนด มีการรับรองมาตรฐานการใช้งาน การสอบกลับได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เครื่องมือให้ผลการวัดที่ถูกต้อง
ความผิดปกติของอิเล็กโทรด
1. การจำแนกข้อผิดพลาด
ก่อนการเริ่มการวินิจฉัยความผิดปกติ ควรมีการตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้
ถ้าความผิดปกติเกิดจากอิเล็กโทรด ควรปฏิบัติดังนี้
ตารางที่ 1: สรุปตัวแปรต่างๆในการวินิจฉัยความผิดพลาด
ตัวแปร |
การคำนวณ |
ค่าที่เหมาะสม |
ความต่างศักย์ไฟฟ้า (Eo) |
ค่า mV ที่อ่านได้ในบัฟเฟอร์ pH 7 |
± 25mV |
Slope |
ค่า mVที่อ่านได้ในบัฟเฟอร์ pH 7 -ค่า mVที่อ่านได้ในบัฟเฟอร์ pH 4 |
160-180 mV |
Drift |
ค่า mVที่อ่านได้ในบัฟเฟอร์ pH 4 ที่ 1 นาที - ค่า mVที่อ่านได้ในบัฟเฟอร์ pH 4ที่ 2นาที |
± 1.5 mV |
2. การแก้ไขความผิดปกติ
สำหรับความผิดปกติขั้นร้ายแรงของอิเล็กโตรดสามารถแก้ได้ด้วยวิธีเดียวคือต้องเปลี่ยนอิเล็กโตรดใหม่สาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติขั้นร้ายแรงนี้เกิดได้จากการดูแลรักษาที่ไม่ดีและการใช้งานที่ไม่เหมาะสม วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อความผิดปกติแต่ละประเภทมีดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2: การจำแนกความผิดปกติของ pH Electrode
ประเภทความผิดปกติ |
สาเหตุ |
Eo (mV) |
Slope (mV) |
Drift (mV) |
อิเล็กโทรดอยู่ในสภาพปกติ |
อิเล็กโทรดและตัวเครื่องอยู่ในสภาพปกติ ปัญหาเกิดจากตัวอย่างที่นำมาวัด |
± 25 |
160-180 |
±1.5 |
ปัญหาเกิดจากอิเล็กโทรด |
แก้วเมมเบรนร้าว |
55-65 |
<10 |
±1.5 |
ธาตุอันตราย |
>± 25 |
160-180 |
>±1.5 |
|
สายไฟ/ระบบไฟฟ้า: ลัดวงจร |
± 25 |
<10 |
±1.5 |
|
เมมเบรนเสื่อมสภาพ/อิเล็กโตรดเก่า |
± 25 |
50-150 |
±1.5 |
|
สายไฟ/ระบบไฟฟ้า: กระแสไฟฟ้าไม่ครบวงจร |
>± 25 |
<10 |
>±1.5 |
|
ปัญหาเกิดจากอิเล็กโตรไลท์ |
การปนเปื้อนของอิเล็กโตรไลท์หรือใช้อิเล็กโตรไลท์ผิด |
>± 25 |
160-180 |
±1.5 |
อิเล็กโทรดสกปรก |
เมมเบรนหรือไดอะแฟรมมีตัวอย่างที่นำมาวัดติดอยู่ |
>± 25 |
50-150 |
>±1.5 |
การอุดตันของไดอะแฟรม |
± 25 |
160-180 |
>±1.5 |
3. ปัญหาจากตัวอย่างทดสอบ
ถ้าทำการตรวจสอบตามตารางที่ 2 แล้วยังพบว่าอิเล็กโทรดมีค่า drift ที่มากและค่าที่อ่านได้ยังผิดปกติ ปัญหานี้อาจจะเกิดจากการเลือกใช้อิเล็กโทรดผิดประเภทการใช้งาน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
โดยควรมีคำแนะนำระบุไว้อย่างชัดเจนในเอกสารจากผู้ผลิตอิเล็กโทรดเพื่อใช้ในการเลือกอิเล็กโทรดที่ถูกต้องเหมาะสมต่อการใช้งานแต่ละประเภท
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก...
1. John J. Barron, Colin Ashton, Leo Geary. Care, maintenance and fault diagnosis for pH Electrodes. TSP-02 Issue 4;5:1-5
<=