Chemical Oxygen Demand หรือที่มักเรียกกันสั้นๆว่า COD สารเคมีสำหรับใช้วิเคราะห์คุณภาพน้ำ ใช้วัดมลพิษในน้ำเสียและน้ำธรรมชาติโดยบ่งบอกถึงปริมาณสารออกซิแดนซ์ทั้งหมดในน้ำที่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารตัวอย่าง ซึ่งแสดงค่าในหน่วย mg/l
ค่า COD เป็นค่าที่ใช้ชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ผู้วิเคราะห์จะต้องมั่นใจผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย COD vials เพราะถ้าวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง จะส่งผลกระทบอย่างมาก ทั้งในแง่ของปัญหาที่ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและการละเมิดข้อกำหนดการปล่อยของเสีย ดังนั้นผู้วิเคราะห์จะต้องทำการวิเคราะห์ด้วยความระมัดระวัง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทางผู้ผลิตสารมาตรฐาน Reagecon ได้มีทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ระหว่าง Reagecon COD vials และ Hach® COD Digestion vials
โดยวิธีการวิเคราะห์ค่า COD ตาม Standard method 5220 และ USEPA method 410.4 ใช้วิธีการวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจน โดยใช้ปฏิกิริยา Oxidation ระหว่าง Dicromate ion (Cr2O72-) กับ สารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ ซึ่งส่วนมากมักจะเกิดจากสารอินทรีย์
1. วิธี Open flux ตาม Standard method 5220A : วิธีนี้เป็นวิธีดั้งเดิม ซึ่งเหมาะสำหรับทดสอบน้ำเสียหลายชนิดที่มีปริมาณตัวอย่างมาก ข้อจำกัด คือ เกิดของเสีย (waste) หลังการวิเคราะห์ตามมาด้วยและขั้นตอนในการวิเคราะห์ค่อนข้างยุ่งยาก
2. วิธี Colorimetric Closed flux ตาม Standard method 5220D : เป็นวิธีที่ประหยัดกว่า ใช้สารเคมีน้อยกว่า เกิดของเสีย (waste) หลังการวิเคราะห์น้อยกว่า และยังสะดวกกว่าวิธีวิเคราะห์แบบ Open flux
ชุดตรวจ COD Vials เป็นหลอดแก้วพร้อมฝาเกลียวหมุน บรรจุ Reagents สำหรับทำปฏิกิริยากับตัวอย่าง (sample) โดยมีหลักการวิเคราะห์ ดังนี้
___________________________________________________
___________________________________________________
___________________________________________________
1. ความถูกต้องในการวิเคราะห์ (Accuracy)
จากการทดลองพบว่า ค่าที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าจริงที่ได้ ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพของ Reagent ตลอดช่วงความเข้มข้นในการวัด
โดยเมื่อนำค่าจาก ตารางที่ 1 ทั้ง 3 ช่วงความเข้มข้น มาพล็อตกราฟความสัมพันธ์ของ Accuracy จะเห็นว่าผลการวิเคราะห์ค่า COD โดยใช้ Reagecon COD vials มีค่าใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ด้วย Hach® COD Digestion vials และอยู่ในช่วงการยอมรับตามข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ของ Hach® และเมื่อทำการทดสอบด้วยเครื่อง Hach® DR/2010 photometer ตามรูปที่ 1-3 (Figure 1-3) ที่แสดงต่อไปนี้
จากกราฟทั้ง 3 ข้างต้นนั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า การวิเคราะห์ค่า COD โดยใช้ Reagecon COD vials มีความถูกต้องเทียบเท่ากับการวิเคราะห์ด้วย Hach® COD Digestion vials ครอบคลุมตลอดช่วงการวัด ในแต่ละช่วงความเข้มข้นของ COD vials จึงทำให้ผู้ใช้มั่นใจว่าการวิเคราะห์ค่า COD โดยใช้ Reagecon COD vials สามารถวิเคราะห์ COD ได้อย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตรวจซ้ำ (Repeatability)
ทดสอบความสามารถในการทำซ้ำของ Reagecon COD vials ตามคู่มือเครื่อง Hach® DR/2010 photometer ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ค่า COD ด้วย Hach® COD vials ได้ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิงของ Hach® values ดังตารางที่ 4
จากตารางข้างต้นจะพบว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการวิเคราะห์ด้วย Reagecon COD vials ไม่เกินค่าอ้างอิงของ Hach® และในการทดลองนี้จะพบว่า COD ในช่วงความเข้มข้น 0 – 1500 mg/l และ 0 – 15,000 mg/l การวิเคราะห์ค่า COD โดยใช้ Reagecon COD vials มีความสามารถในการทำซ้ำที่ดีกว่าการวิเคราะห์ด้วย Hach® COD Digestion vials
ดังนั้นผู้ใช้ Hach® COD Digestion vials กับเครื่อง Hach® photometer จึงมั่นใจได้ว่า การใช้ Reagecon COD vials ให้ผลการวิเคราะห์ไม่ต่างจากการวิเคราะห์ด้วย Hach® COD Digestion vials
3. วิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้ง (Analysis of Effluent sample)
เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ reagents ทั้งสองยี่ห้อได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทดสอบประสิทธิภาพกับตัวอย่างน้ำทิ้ง เพื่อวิเคราะห์ว่าผลจากสภาวะแวดล้อมของตัวอย่างมีผลต่อความถูกต้องในการวิเคราะห์หรือไม่ ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ COD standards โดยตัวอย่างน้ำทิ้งอาจย่อยได้อยากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงทำการทดสอบสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้งจำนวน 40 ตัวอย่าง ซึ่งก่อนการวิเคราะห์แต่ละตัวอย่างจะทำให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยเครื่องปั่น
จากกราฟ regression line (การวิเคราะห์การถดถอย : regression คือ วิธีทางสถิติที่ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป) ค่า R2 ที่ใช้อ้างอิงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ชุด (ข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กันมากเมื่อ R2 เข้าใกล้ 1.0) จากรูปที่4 แสดงให้เห็นว่าผลจากการวิเคราะห์ค่า COD ด้วย COD vials จากทั้งสองยี่ห้อ มีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรงตลอดช่วงการวัด โดยมีค่า R2= 0.9999
จากการทดสอบข้างต้นนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า การวิเคราะห์ค่า COD ด้วย Reagecon COD vials มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์เทียบเท่ากับ Hach® COD vials เมื่อเปรียบเทียบตามหัวข้อต่อไปนี้
จากผลการทดลองนี้ ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าการใช้ Reagecon COD vials แทน Hach® COD Digestion vials มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน ทั้งในการตรวจวิเคราะห์ standards และ ตัวอย่างน้ำเสีย
สุดท้ายนี้ ทางเอเพกซ์ เคมิเคิล จึงขอนำเสนอสารเคมีสำหรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ COD จากแบรนด์ Reagecon ซึ่งมีความครอบคลุมการใช้งานที่หลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีระบบบำบัดน้ำเสียและต้องการวิเคราะห์ความสกปรกของน้ำ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล แป้ง เครื่องดื่ม พลังงาน น้ำมัน โรงผลิตเอธานอล โรงฆ่าสัตว์ โรงย้อมสี โรงกระดาษ โรงผลิตน้ำผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
Highlight
รายการสินค้า COD ที่ทางบริษัทฯ ทำสต็อคมีดังต่อไปนี้
** นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมีรายการ Chemical Oxygen Demand (COD) Standard ให้ท่านได้เลือกดูเพิ่มเติมได้หรือสามารถโทรเข้ามาสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายบริการลูกค้า โทร. 02-138-3720-3 หรือ 061-823-3761-3
<=