Alchemist - นักเล่นแร่แปรธาตุ | ApexChem Blog นักเล่นแร่แปรธาตุ (Alchemist) | ApexChem Blog Apex Chemicals
Alchemist - นักเล่นแร่แปรธาตุ
Posted on 20 Nov 2017

 

ภายใต้พื้นที่อันจำกัดของการเล่าเรื่อง อาจจะเท้าความไปไม่ถึงพ่อมดผู้โด่งดังแห่งยุคกลางเช่นเมอร์ลินหรือพ่อมดยุค ใหม่อย่างพอตเตอร์ แต่เราจะใช้แว่นขยายส่องไปที่บางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของเคมีซึ่งเป็น ช่วงสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของ

นักเล่นแร่แปรธาตุ หรือ Alchemist

นักเล่นแร่แปรธาตุ คือผู้ที่พยายามเปลี่ยนตะกั่วให้เป็นทองคำ โดยการค้นหาหินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Philosopher’s stone ในห้องทดลองของนักเล่นแร่แปรธาตุ จะเต็มไปด้วยเครื่องมือทดลอง ทั้งเตาหลอม หม้อต้ม เครื่องสูบลม เครื่องแก้ว พวกเขาจะเอาสิ่งที่ใช้ทดลองจำพวก ดอกไม้ สมุนไพร เลือด น้ำปัสสาวะ ตาคางคกและหัวใจซาลาแมนเดอร์ มาต้ม ผสม แล้วกลั่นกลับไปกลับมา โดยหวังว่าจะเสกสรรหินวิเศษณ์ให้จงได้ แต่ก็…ไม่สำเร็จ

เมื่อการทดลองไม่เป็นผลที่น่าพอใจ นักเล่นแร่แปรธาตุจึงถูกกีดกันโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ โดยถูกสั่งห้ามทดลองและเผยแพร่การทดลอง เพราะผู้มีอำนาจปกครองเห็นว่าไม่ได้ผล เป็นการโกหกหลอกลวงซะมากกว่า แต่นักเล่นแร่แปรธาตุก็ไม่ได้หยุดชะงักงานของตน ยังมีการทดลองและค้นคว้าต่อไปอย่างลับๆ เมื่อมีความรู้ใหม่เกิดขึ้น พวกเขาก็จะสงวนความรู้ไว้ ซึ่งงานทดลองใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ เพราะพบสารสำคัญๆ เช่น HNO3, H2SO4, NH4Cl, AgNO3, บอแรกซ์ และ วุ้น เป็นต้น เครื่องมือเครื่องใช้ในการทดลองได้รับการพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ และวิชา Alchemy ได้ถูกปรับปรุงเป็นวิทยาศาสตร์สำคัญสาขาหนึ่ง คือ เคมี ตำรา สูตร เทคนิค และวิธีการทดลองทางเคมีที่แต่งขึ้นในขณะนี้ ล้วนมาจากจากแนวคิดของบุคคลในอดีต เช่น

> Paracelsus

ค.ศ. 1493 – ค.ศ. 1541 : ผู้ชักนำให้นักเล่นแร่แปรธาตุหันมาค้นหายาอายุวัฒนะ ศึกษาเคมีเพื่อการบำบัดและรักษาโรค (เขาคือเจ้าของไม้เท้ากายสิทธิ์ที่มีงูสองตัวพันเป็นเกลียว สัญลักษณ์ของ แพทยศาสตร์)

 

> Robert Boyle

ค.ศ. 1627 – ค.ศ. 1691 : ตั้งวิชาเคมีแยกจากวิชาปรุงยา เพื่อให้เคมีเป็นศาสตร์ที่แท้จริง

 

> Antoine – Laurent Lavoisier

ค.ศ. 1743 – ค.ศ. 1794 : ผู้ตั้งกฎทรงมวลแห่งสสารที่ว่า “มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยาย่อมเท่ากับมวลของสารหลังทำปฏิกิริยากัน” ชีวิตของเขาช่างน่าเศร้าเพราะถูกประหารจากโทสะของทหารชั้นผู้น้อยนายหนึ่ง จนมีผู้กล่าวขานว่า “เขาใช้เวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้นเพื่อตัดหัวของลาวัวซิเอ แต่เวลา 1 ศตวรรษจะเพียงพอหรือเปล่าที่จะสร้างบุคคลเช่นนี้ได้”

 

> John Dalton

ค.ศ. 1766 – ค.ศ. 1844 : ผู้อธิบายสมบัติของก๊าซและคิดสัญลักษณ์ของอะตอม

 

> Amedeo Avogadro

ค.ศ. 1776 – ค.ศ. 1856 : ตั้งกฎของอาโวกาโดร (ก๊าซทั้งหลายที่มีปริมาตรเท่ากันภายใต้สภาวะความดันและอุณหภูมิเดียวกันจะ มีจำนวนโมเลกุลเท่ากัน) และเลขอาโวกาโดรอันโด่งดัง (6.02 X 1023)

 

> Sir Humphry Davy

ค.ศ. 1778 – ค.ศ. 1829 : นักเคมีผู้ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัยและนำคำว่า SCIENCE มาใช้เป็นคนแรก

 

> Baron Joens Jacob Berzelius

ค.ศ. 1779 – ค.ศ. 1848 : ผู้นำอักษรตัวแรกของชื่อธาตุมาใช้เป็นสัญลักษณ์

 

In my imagination, Chemistry was the grandchild of good old alchemy…

In my imagination, Chemistry was the grandchild of good old alchemy…

 

และ "คุณ" . . . คนตัวเล็กๆคนหนึ่ง ที่กำลังทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุดในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ QC / QA ในโรงงาน นักศึกษาปริญญาเอก เจ้าหน้าที่ R&D ผู้ช่วยนักวิจัย อาจารย์มหา’ลัย คนขายสารเคมี หรือแม้แต่คนป่วย คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าเมื่อคุณจากโลกนี้ไปแล้ว อีก 100 ปี จะมีคนเอาผลงานของคุณมาใช้อ้างอิงหรือไม่ นักเคมีเหล่านั้นก็ไม่ทราบ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนทราบเหมือนกันคือ จงเป็นแต่เพียงต้นเหตุให้กับผลลัพธ์ดีๆที่อยากให้เกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งสร้างปาฏิหาริย์โดยการเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ความคิดให้ ปรากฏขึ้นในชีวิตจริง เพราะแม้เส้นทางสายดังกล่าวจะยาวไกลแค่ไหน แต่ก็คงไม่ไกลเกินกว่าสองเท้าเล็กๆที่ก้าวไม่หยุด ^____^

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก...

1. https://www.celesteprize.com/artwork/ido:199593/

Leave a Reply
Your email address will not be published. Required fields are marked *
“*required, will not be published” 1