โดยสารเคมีที่ผลิตจำหน่ายโดยทั่วไป เราสามารถจำแนกตามความบริสุทธิ์ได้หลากหลายเกรด โดยเราจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
สารประเภทนี้มักมีสารปนเปื้อนจำนวนมาก ค่าความบริสุทธิ์ จะตํ่ากว่า <90% นิยมใช้ในงานทางอุตสาหกรรม ทางการเกษตร ในโรงเรียน มักมีขนาดบรรจุขนาดใหญ่ เช่น ปี๊บ 15 ลิตร, ถัง 200 ลิตร โดยฉลากจะไม่ค่อยมีรายละเอียดแสดงมากนัก อาจแสดงเพียงชื่อสาร, น้าหนักและสูตรโมเลกุล
แบ่งเป็น สารเคมีเกรดอุตสาหกรรม (Commercial or Technical grade) และ สารเคมีเกรดวิเคราะห์ทั่วไป (Chemical Pure grade: C.P. grade)
ประเภทนี้เราจะสามารถแยกได้อีก 2 กลุ่มตามความบริสุทธิ์ ได้แก่
สารเกรดนี้มี ความบริสุทธิ์สูงมากกว่า >95% มากพอที่จะใช้เป็นสารทำปฏิกิริยาโดยทั่วไป
แต่ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสารมาตรฐานปฐมภูมินะคะ
แบ่งเป็น
2.1.1 สารเคมีเกรดห้องแล็ป (Lab Grade)
โดยชื่อเรียกของเกรดนี้ แต่ละแบรนด์ก็จะเรียกแตกต่างกันไป
เช่น แบรนด์ Loba Chemie เรียก Lab grade หรือ แบรนด์ Fisher Chemical เรียก LAB, SLR เป็นต้น
2.1.2 สารเคมีเกรดยา (Pharmaceutical grade) หรือ (National Formulary grade: N.F. grade))
Analytical reagent grade (AR) หรือ Guaranteed Reagents (GR)
สารเคมีในเกรดนี้มีความบริสุทธิ์สูงกว่าสารในเกรดห้องปฏิบัติการ โดยจะมีความบริสุทธิมากกว่า 99%
จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสารทำปฏิกิริยาและสารมาตรฐานปฐมภูมินั่นเอง
สารเคมีกลุ่มนี้มักผลิตขึ้นเพื่องานวิเคราะห์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ โดยสารในกลุ่มนี้มักมีความบริสุทธิ์สูงมากและมีราคาค่อนข้างสูง
ตัวอย่างงาน
3.6.1 HPLC grade
3.6.2 GC grade
3.6.3 LC-MS grade
3.6.4 UHPLC-MS
3.8.1 Trace Elemental Analysis grade
3.8.2 Ultra-Trace Elemental Analysis grade
เห็นไหมคะ หากสามารถจำแนกประเภทตามกลุ่มการใช้งานแล้วก็คลายข้อสงสัยได้เยอะเลย การเลือกใช้สารเคมี ให้ถูกประเภท เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือของผลการทดสอบ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความจำเป็นและงบประมาณที่ใช้ด้วยนะคะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ชุดนี้ ได้ที่ >>> https://bit.ly/2PdOhyU
#Chemicals #ChemicalsGrade #APEXCHEMICALS #LearningCenterbyAPEXCHEMICALS