ศัพท์คำว่า “Nutraceutical” นั้นเป็นคำที่เกิดจากการรวมกัน ระหว่าง ‘Nutrition และ Pharmaceutical’ จนเกิดเป็นคำใหม่ขึ้นมานั่นเอง
Nutraceutical เป็นผลิตภัณฑ์จากสารอาหารหรือสารสกัดที่มีสรรพคุณเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งในประเทศไทย Nutraceutical จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement) โดยอยู่ในการดูแลของ "กองอาหาร" ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือ (Food and Drug Administration - FDA)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในประเทศไทย หรือ Thai FDA มีการกำหนดเพียงแต่คำว่า Food supplement หรือที่เราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” โดยจะขึ้นตรงกับกองอาหาร
ตัวอย่างกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
เช่น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ
เช่น เสริมสร้างสุขภาพข้อ, เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เช่น ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไขมันผิดปกติ
เช่น เสริมสร้างให้รากผมหรือเส้นผมมีสุขภาพดี
Tips : หากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น มีส่วนผสมของสารทางธรรมชาติ (Natural Product) หรือสมุนไพร (Herb) จะถูกจัดอยู่ภายใต้การดูแลของกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ในเมื่อคำว่า Nutraceutical จัดอยู่ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement) วันนี้เราพาจะมาดูเทรนด์ที่น่าสนใจในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต มีดังนี้
ซึ่งการระบุคุณประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้น ต้องมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางคลินิก เพื่อเป็นการยืนยันและรับรองในคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
อย่างไรก็ตาม การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การดูดซึม (Absorption), กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) และการขับถ่าย (Excretion) เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทาน หรือการรักษาอื่น ๆ ทางการแพทย์ในขณะนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ผู้บริโภคควรพิจารณาในแง่ของประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับ
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารเสริม การควบคุมคุณภาพมีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ และความเชี่ยวชาญของผู้ผลิต เพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนดและการควบคุมของกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
โดยมีการตรวจสอบด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Quality Tests) ประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์และยืนยันเอกลักษณ์ของสารสำคัญ (Identification)
เพื่อเป็นการตรวจสอบชนิดสารสำคัญอะไรบ้างอยู่ในผลิตภัณฑ์
2. การวิเคราะห์ปริมาณของสารสำคัญ (Assay)
เพื่อเป็นการยืนยันปริมาณของสารที่มีในผลิตภัณฑ์ เป็นไปตามที่ระบุบนฉลากของผลิตภัณฑ์
3. การตรวจสอบสารปนเปื้อนตกค้าง (Impurities) เช่น
4. การตรวจสอบทางด้านจุลชีววิทยา (Microbiological Testing) สามารถแบ่งออกได้เป็น
4.1 การทดสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน (Microbial enumeration test and tests for specified microorganism)
4.2 การทดสอบหาสาร Aflatoxin ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา
5. การตรวจสอบความคงสภาพของผลิตภัณฑ์ (Stability)
เพื่อเป็นการยืนยันอายุของสินค้า ซึ่งประกอบด้วยหลายพารามิเตอร์ เช่น วิเคราะห์สารสำคัญ / ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ / การตรวจสอบจากเชื้อจุลินทรีย์
6. การตรวจสอบปริมาณน้ำในผลิตภัณฑ์ (Water Content)
ซึ่งอาจส่งผลต่อความคงสภาพของผลิตภัณฑ์และยังทำให้เกิดการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ได้
ซึ่งกระบวนการควบคุมคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ต้องอาศัยความรู้ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของผู้ผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้เนื้อหาในบทความนี้เป็นข้อมูลจากงานสัมมนา “Nutraceuticals sustainability : Elevating Nutraceutical Product Quality & Development in Thailand” ณ เวที LAB & Bio Square Hall 102-104 BITEC Bangna เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
โดยทาง เอเพกซ์ เคมิเคิล นั้นได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงเกียรติ
ท่าน รศ.ภก.ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ
อาจารย์ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และผู้จัดการด้านคุณภาพศูนย์บริการเทคโนโลยี เภสัชอุตสาหกรรม (UNIDO)
ทาง เอเพกซ์ เคมิเคิล จึงขอขอบคุณ รศ.ภก.ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ ที่มาให้ความรู้และข้อมูลที่น่าสนใจ จนได้ออกมาเป็นบทความดี ๆ อย่างนี้ในทุกท่านอ่านกัน ณ ที่นี้ด้วย