เคยสงสัยมั้ยว่า ในห้องแล็บมีขวดแก้วทรงกระบอกหน้าตาแปลกๆ เต็มไปหมด ขวดเหล่านี้มีหน้าที่อะไรกันนะ ? วันนี้เราจะมาไขความลับของ “ขวดวัดปริมาตร” (Volumetric Flask) อุปกรณ์สุดสำคัญในการวัดปริมาตรของเหลวให้เป๊ะสุด ๆ ไปดูกันเลย !
Volumetric Flasks ขวดแก้ววัดปริมาตร หรือบ้างก็เรียกว่าขวดปรับปริมาตร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมีเพื่อเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นแน่นอน มีลักษณะเป็นขวดรูปทรงกลมคอแคบ ที่คอของขวดจะมีเส้นบอกระดับ ซึ่งใช้ในการวัดปริมาตรที่แน่นอนของสารละลาย
การใช้งาน Volumetric Flasks นั้นง่ายมาก เพียงแค่เติมสารละลายลงไปจนถึงขีดบอกปริมาตร (Score mark) ที่กำหนดบนคอของขวด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายตาอยู่ในระดับเดียวกับเส้นบอกระดับ และระวังไม่ให้มีฟองอากาศ หรือของแข็งตกค้างอยู่ในของเหลว เพราะจะทำให้การวัดปริมาตรไม่แม่นยำ
โดย Volumetric flask จะมีวัตถุประสงค์การใช้งานอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ
ใช้ในการเตรียมสารละลาย : เติมสารละลายหรือของเหลวลงในขวดจนถึงขีดบอกปริมาตรที่ต้องการ
ใช้ในการอ่านปริมาตร : การอ่านปริมาตรของเหลวใสให้อ่านที่ส่วนโค้งล่างของผิวของเหลว (meniscus) ที่สัมผัสกับขอบบนของขีดกำหนดปริมาตร โดยสายตาของผู้อ่านต้องอยู่ระดับเดียวกับส่วนโค้งล่างของผิวของเหลว
มาดูกันว่าสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเครื่องแก้วนั่นหมายถึงอะไรบ้าง
Score mark - ขีดบอกปริมาตรสีชา
ขีดบอกปริมาตรจะเป็นสีชา ซึ่งถูกสลักลงบนเนื้อแก้วของขวด เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนและอ่านง่าย ช่วยให้การวัดปริมาตรมีความแม่นยำ
Manufacturer - ระบุชื่อผู้ผลิต
ชื่อบริษัทผู้ผลิตขวด Volumetric Flask การเลือกผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือจะช่วยให้เรามั่นใจในคุณภาพและความแม่นยำของขวด เช่น Volumetric flask ของ Borosil
Calibration TC, In - ประเภทเครื่องแก้ว
ตัวย่อ In บนเครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดสอบเทียบสำหรับบรรจุของเหลว (To Contain) มีอักษรย่อ TC หรือ In ใช้สำหรับการเตรียมสารละลายมาตรฐาน
Q : แล้วนอกจากตัวย่อ In ที่อยู่บนวัดปรับปริมาตรแล้วนั้น รู้หรือไม่ว่ายังมี TC / TD หรือ Ex อยู่อีกด้วย แล้วตัวย่อที่กล่าวมาเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร ?
: ตัวย่อบนเครื่องแก้ววัดปริมาตรในห้องปฏิบัติการ จะแบ่งตามวิธีการสอบเทียบ ออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
เครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดสอบเทียบสำหรับบรรจุของเหลว (To Contain) มีอักษรย่อ TC หรือ In ใช้สำหรับการเตรียมสารละลายมาตรฐาน
เครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดสอบเทียบสำหรับถ่ายของเหลว (To Deliver) มีอักษรย่อ TD ใช้สำหรับการตวงหรือถ่ายของเหลว
Temperature - ระบุอุณหภูมิในการ Calibrate
อุณหภูมิที่ใช้ในการ Calibrate ขวด Volumetric Flask จะถูกระบุไว้ โดยปกติจะอยู่ที่ 20°C เพื่อให้การวัดมีความแม่นยำ
Standards - ระบบมาตรฐานการตรวจวัดแบบ ASTM
การเลือกขวด Volumetric Flask ที่ผ่านมาตรฐาน ASTM นั้น มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการใช้งานในห้องปฏิบัติการที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การวิเคราะห์ทางเคมี
Stopper size - ระบุขนาดของจุกปิด
จุกปิดขวด Volumetric Flask มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันการรั่วซึมของของเหลวออกจากขวด ขนาดของจุกปิดจะต้อง พอดีกับปากขวด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขวดปิดสนิท ผู้ใช้งานสามารถดูขนาดจุกปิดได้จาก ตัวเลขที่ระบุบนขวด
Nominal Capacity - ระบุปริมาตรของขวด
ปริมาตรบรรจุของขวด Volumetric Flask จะระบุ ปริมาตรสูงสุดของของเหลว ที่ขวดสามารถบรรจุได้ ปริมาตรนี้จะ ระบุชัดเจนบนตัวขวด โดยหน่วยมิลลิลิตร (mL)
Tolerance - ระบุค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดในการวัดที่ยอมรับได้
Tolerance คือช่วงค่าเบี่ยงเบนในการวัด โดยประเภทของเครื่องแก้วถูกแบ่งออกเป็น Class A และ Class B ซึ่งขวด Class A จะมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า Class B จึงทำให้การวัดมีความแม่นยำสูงกว่านั่นเอง
Class Certified - ระดับคุณภาพเครื่องแก้ว
เครื่องแก้ววัดปริมาตร จะแบ่งตามระดับชั้นคุณภาพ (Class) ได้ 2 ระดับตามความแม่นยำ (accuracy) คือ Class A และ Class B ซึ่งถูกกำหนดด้วย ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (tolerance)
โดย Volumetric flask ของ Borosil นั้น ทำจากแก้ว Borosilicate 3.3 Type I Class A เนื้อแก้วหนา ใส เรียบเนียน มีความแข็งแรงทนทาน ทนทานต่อความร้อนและการกัดกร่อนของสารเคมี ขีดวัดปริมาตร Scoring mark ถูกสลักลงบนเนื้อแก้วโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เล็งแสงเลเซอร์กำหนดขีดปริมาตร และใช้เพชรตัดวนเป็นวงรอบ ปราศจากปัญหาขีดวัดปริมาตรเลือนหายหรือหลุดออก
Tips ! : เครื่องแก้วจากแบรนด์ Borosill นั่นระบุว่าทำจากแก้ว Borosilicate 3.3 Type I Class A แล้วเคยสงสัยมั้ยว่า “Type I” คืออะไร เอเพกซ์จะบอกให้..
ทั่วไปสามารถแบ่งประเภทเครื่องแก้ว (Type of glass) ได้จากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแก้ว โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. Quartz : เครื่องแก้วที่ผลิตจากควอตซ์ (SiO2) ที่มีความแข็งแรง และทนความร้อนได้ถึง 1,000°C แต่มีราคาแพง
2. Type I คือ เครื่องแก้วที่ผลิตมาจาก Borosilicate SiO2 / B2O3 / Al2O3 มีคุณสมบัติที่แข็งแรง แตกยาก และทนความร้อนได้สูงถึง 500°C
3. Type II : เครื่องแก้วที่ผลิตมากจาก Soda Lime SiO2 / Na2O ซึ่งทนความร้อนได้น้อยกว่า Type I นั่นเอง
ก่อนใช้งาน
ตรวจสอบสภาพขวดก่อนใช้งาน : ตรวจดูว่าขวดปริมาตรไม่มีรอยร้าวหรือสิ่งสกปรกใดๆ รอยร้าวหรือสิ่งสกปรกอาจส่งผลต่อความถูกต้องของการวัด
หลังใช้งาน
การล้างขวด : ล้างขวดปริมาตรด้วยน้ำกลั่น และทำให้แห้งสนิทก่อนใช้งานเสมอ โดยจะช่วยขจัดสิ่งสกปรก และสารเคมีตกค้างที่อาจส่งผลต่อความเข้มข้นของสารละลาย หรือสามารถใช้อะซิโตนในการกลั้วล้าง และรอให้แห้งก็ได้
แต่ข้อควรระวังคือ ห้ามใช้แปรงในการล้างขวดวัดปริมาตร เพราะจะทำให้การวัดปริมาตรมีความคาดเคลื่อน