COA ย่อมาจาก Certificate of Analysis คือ เอกสารรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพสารเคมี ตามล็อตการผลิต ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ และการตรวจสอบตามค่ามาตรฐานของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีรูปแบบเอกสาร หรือรายละเอียดข้อมูลที่ระบุอยู่บนเอกสารแตกต่างกันไป
โดยข้อมูลที่ควรปรากฏในเอกสาร มีดังนี้
Product name / Description : ชื่อสารเคมีทั่วไป
Lot No. / Batch Number : ชุดตัวเลขที่แสดงล็อตการผลิตสินค้าในแต่ละครั้ง ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
CAS Number : ชุดตัวเลขอ้างอิงเฉพาะของสารเคมีแต่ละชนิด
Product Code / Catalog Number / Code No. : ชุดรหัสสินค้าอ้างอิงตามผู้ผลิต
Analyzed On / Issued date : วันที่ออกเอกสาร COA
Molecular weight : มวลโมเลกุลของสาร
Molecular formula : สูตรเคมีของสาร
Grade : เกรดของสาร (สำหรับผู้ผลิตบางราย อาจมีการระบุในชื่อสารเคมี)
Application : วัตถุประสงค์การใช้งานของสาร (สำหรับผู้ผลิตบางราย อาจมีการระบุในชื่อสารเคมี)
Manufacturing Date : วันที่ผลิต
Type of Mfg date : Quality Test Date / Release Date
Expiration Date / Use by date : วันหมดอายุ
Type of Exp date : After packing/ After opening/ Retest Date
Parameter/ Result name : ตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการทดสอบโดยเทียบกับค่ามาตรฐานของผู้ผลิต
โดยหัวข้อการวิเคราะห์ที่ระบุในเอกสาร COA จะขึ้นกับเกรดของสารเคมี ซึ่งสารเคมีสำหรับงานเฉพาะด้าน
จะระบุหัวข้อการวิเคราะห์ที่มีความละเอียดมากกว่าสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทั่วไป เช่น
Appearance : ลักษณะทางกายภาพ
Purity (by GC) : ความบริสุทธิ์
Water : ปริมาณน้ำในองค์ประกอบสาร
Acidity/alkalinity : ความเป็นกรดหรือความเป็นด่าง
UV transmittance : การทดสอบผ่านรังสี UV
Specification : ค่าที่กำหนดสำหรับใช้เทียบกับค่าวิเคราะห์จริงของสาร
Test Results : ค่าวิเคราะห์จริงที่ได้จากการทดสอบสารนั้นๆ ตามล็อตการผลิตสินค้า โดยแต่ละล็อตการผลิต อาจมีค่าการวิเคราะห์ที่ต่างกัน แต่ยังคงอยู่ในช่วงของค่าที่กำหนดตาม Specification
Additional Information / Remarks: Application จำเพาะ
Signature of the Certifier : ลายเซ็นผู้รับรองเอกสาร COA
COA คือเอกสารการรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพสินค้าจากผู้ผลิต โดยสามารถใช้ในการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานให้กับผู้ซื้อ ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ซื้อในประสิทธิภาพของสารเคมีได้อีกด้วย ดังนั้น COA จึงมีความสำคัญอย่างมาก ในการยืนยันว่าสินค้าที่ผลิตในล็อตนั้น ๆ ผลิตได้ตามมาตรฐาน และมีองค์ประกอบที่ปลอดภัย
หากเอกสาร COA ที่ได้รับมีส่วนประกอบที่ไม่ครบถ้วนตามข้อมูลข้างต้น อาจมีผลต่อกฎหมายบางประการ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องตรวจสอบเอกสาร COA ให้ครบถ้วนทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานว่าสินค้านั้นถูกต้อง และปลอดภัยต่อการใช้งานก่อนรับมอบสินค้า
ในการออกเอกสารรับรองผลการวิเคราะห์ หรือ COA ผู้ที่มีอำนาจในการออกเอกสาร COA ได้แก่บริษัทผู้ผลิตสินค้าที่มีห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพการผลิต หรือส่งตรวจวิเคราะห์ กับห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองตามมาตรฐานระดับสากลให้เป็นผู้ออกเอกสารรับรองผลการวิเคราะห์
Q : ข้อมูลที่ต้องใช้ในการออกเอกสาร COA มีอะไรบ้าง ?
: คำตอบคือ ผู้ผลิตที่มีห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองตามมาตรฐานระดับสากล จะออกเอกสาร COA โดยมีข้อมูล ดังนี้
ชื่อตัวอย่าง
ลักษณะตัวอย่าง
ชื่อผู้ผลิต
ที่อยู่ผู้ผลิต
ชื่อผู้ส่งออก
ที่อยู่ผู้ส่งออก
หมายเลข Lot. และ PI (Purchase invoice)
รายละเอียดของสินค้า รูปแบบการบรรจุ
จำนวนสินค้าที่จะส่งออก
โดยเอกสาร COA สามารถใช้สำหรับล็อตการผลิตที่มีการวิเคราะห์ และทดสอบในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน โดยจะยึดจาก Lot/Batch number ที่เหมือนกันเท่านั้น โดยหากลูกค้าใช้บริการจากเอเพกซ์ เคมิเคิล ในทุกการเสนอราคา ทางบริษัทจะแนบเอกสารตัวอย่าง COA ให้ลูกค้าเสมอ
เอกสาร COA คือ เอกสารยืนยันคุณภาพสินค้าที่ได้รับการวิเคราะห์ และรับรองว่าสินค้ามีองค์ประกอบที่ปลอดภัย และมีการทดสอบอย่างถูกต้อง ซึ่งผู้ผลิตจะสามารถออกเอกสาร COA ได้ หากผู้ผลิตมีห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองตามมาตรฐานระดับสากล และผู้ซื้อสามารถตรวจสอบคุณภาพของสินค้าได้จากเอกสาร COA โดยสินค้าของทางบริษัท Apex Chemicals ได้รับการรับรองเอกสาร COA ทุกผลิตภัณฑ์
Tips! : อยากสั่งซื้อสารมาตรฐาน ควรพิจารณา COA อย่างไร
เอกสาร COA ของสารมาตรฐาน จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ISO GUIDE 31 และต้องระบุเกรดว่าเป็น Reference Materials ให้ชัดเจน เพื่อให้เลือกซื้อสารมาตรฐานได้ถูกต้องตามการใช้งาน ที่สำคัญควรสังเกตคีย์เวิร์ด Reference materials (RM) และ Certified reference material (CRM) ในเอกสาร COA ก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
บรรณานุกรม