รู้หรือไม่ ? อุปกรณ์อะไรที่นักวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บ ใช้ในการวัดปริมาตร และถ่ายโอนของเหลวได้อย่างแม่นยำ ? คำตอบก็คือ "ปิเปตต์" นั่นเอง อุปกรณ์เล็ก ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในงานวิจัย เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำงานได้อย่างถูกต้อง และเชื่อถือได้
บทความนี้ เอเพกซ์ เคมิเคิล จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับปิเปตต์กันให้มากขึ้น
ปิเปตต์ (Pipette) เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สำหรับตวง หรือวัดปริมาตรของเหลวให้ได้ปริมาตรที่แน่นอน มีความแม่นยำสูง ทำให้สามารถทำงานวิจัยและการทดลองต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และเชื่อถือได้ แต่รู้หรือไม่ว่าปิเปตต์นั้นสามารถแบ่งประเภทได้ 2 ประเภท ได้แก่ Volumetric Pipette และ Graduated Pipette โดยสัญลักษณ์บนปิเปตต์นั้น มีอะไรบ้าง และความหมายของแต่ละสัญลักษณ์เป็นอย่างไร มาดูกัน
Manufacturer
ชื่อผู้ผลิต ในที่นี้คือ “Borosil” การเลือกผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือจะช่วยให้เรามั่นใจในคุณภาพ และความแม่นยำของเครื่องแก้วที่ใช้ได้
Nominal Capacity
ระบุปริมาตรของปิเปตต์ โดยจะระบุปริมาตรสูงสุดของของเหลว ที่ปิเปตต์สามารถบรรจุได้ ปริมาตรนี้จะระบุชัดเจนบนตัวปิเปตต์ โดยใช้เป็นหน่วยมิลลิลิตร (mL)
Quality Grade
ระดับคุณภาพเครื่องแก้ว แบ่งได้ 2 ระดับตามความแม่นยำ (Accuracy) คือ Class A และ Class B ซึ่งถูกกำหนดด้วย ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (Tolerance) จากภาพตัวอย่างที่ระบุเป็น อักษร A จะหมายถึง Class A
Tolerance
ระบุค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุด ในการวัดที่ยอมรับได้ โดย Tolerance คือ ช่วงค่าเบี่ยงเบนในการวัด โดยประเภทของเครื่องแก้วถูกแบ่งออกเป็น Class A และ Class B
Tips ! : ความแตกต่างระหว่างเครื่องแก้ว Class A และ Class B
เครื่องแก้ว Class A เป็น เครื่องแก้ววัดปริมาตรที่มีความแม่นยำสูง โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร (Tolerance) ต่ำกว่าเครื่องแก้ว Class B ถึงครึ่งนึง หรือก็คือค่า Tolerance (ค่าความคลาดเคลื่อน) ของ Class B นั้นสูงกว่า Class A ถึง 2 เท่านั่นเอง นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับใบรับรองการสอบเทียบ (Calibration Certificate) ทำให้เหมาะสำหรับงานทดสอบและงานวิเคราะห์ที่ต้องการความแม่นยำสูงเป็นอย่างดี
Calibration (TD = to deliver)
ประเภทเครื่องแก้ว ที่แบ่งตามวิธีการสอบเทียบ ออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1. เครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดสอบเทียบสำหรับบรรจุของเหลว (To Contain) มีอักษรย่อ TC หรือ In ใช้สำหรับการเตรียมสารละลายมาตรฐาน
2. เครื่องแก้ววัดปริมาตรชนิดสอบเทียบสำหรับถ่ายของเหลว (To Deliver) มีอักษรย่อ TD หรือ Ex ใช้สำหรับการตวง หรือถ่ายของเหลว
Ref. Temperature
ระบุอุณหภูมิในการ Calibrate มักใช้ 20 °C เป็นมาตรฐานที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น มาตรฐานของ ASTM , NIST, ISO, และ DIN
นอกจากนี้ ในประเทศไทยเรามักใช้อุณหภูมิ 20°C ตามมาตรฐานตาม ASTM เพื่อให้การวัดมีความแม่นยำและสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากลที่ได้รับการยอมรับโดยแพร่หลาย
Standards
ระบบมาตรฐานสำหรับเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย
ASTM (American Society for Testing and Materials) ของสหรัฐอเมริกา
NIST (National Institute of Standards and Technology) ของสหรัฐอเมริกา
ISO (International Organization for Standardization) ของอังกฤษ
DIN (Deutsches Institut for Normung) ของเยอรมัน
ASTM และ DIN ต่างเป็นองค์กรชั้นนำด้านการพัฒนามาตรฐานเครื่องแก้ววัดปริมาตรที่ได้รับการยอมรับระดับโลก เนื่องจากเครื่องแก้วของ ASTM มีความแม่นยำสูง และค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตรต่ำกว่า
Volumetric Pipette
Graduated Pipette
แล้ว 2 ประเภทนี้มีความ"แตกต่าง"กันอย่างไร?
เป็นปิเปตต์ที่มีลักษณะเป็น"กระเปาะ"อยู่ตรงกลาง ถูกออกแบบมาเพื่อวัดปริมาตรของเหลวที่แน่นอนเพียง"ค่าเดียว" ซึ่งจะระบุไว้บนตัวปิเปตต์ ปิเปตต์ชนิดนี้เหมาะสำหรับการเตรียมสารละลายมาตรฐานหรือการถ่ายโอนปริมาตรของเหลวที่ต้องการความแม่นยำสูง
ปิเปตต์ชนิดนี้มี"สเกล"บอกปริมาตร ทำให้สามารถวัดปริมาตรได้หลากหลายค่าภายในช่วงที่กำหนด เหมาะสำหรับการตวงปริมาตรที่ไม่จำเป็นต้องแม่นยำสูงมากนัก หรือการตวงปริมาตรที่หลากหลายในอุปกรณ์ชิ้นเดียว
โดยปิเปตต์ประเภทนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิดย่อย ๆ ได้แก่ Mohr Pipette และ Serological Pipette
Mohr Pipette
Pipette ประเภทนี้ถูกออกแบบให้มีสเกลบอกปริมาตรก่อนถึงปลายปิเปตต์ ดังนั้นการใช้งานปิเปตต์ประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญ และความแม่นยำของผู้ใช้ต้องควบคุมการไหลของของเหลวอย่างระมัดระวัง และปล่อยของเหลวให้หยุดที่ขีดสเกลที่ต้องการ และการวัดปริมาตรให้ได้ปริมาตรของเหลวเท่ากับปริมาตรสูงสุดของ Mohr Pipette ทำได้โดยปล่อยของเหลวถึงขีดสุดท้ายของสเกลนั่นเอง
Serological Pipette
Serological Pipette ปิเปตต์ที่มีสเกลบอกปริมาตรยาวไปจนถึงปลายปิเปตต์ และเมื่อต้องการใช้ปริมาตรสูงสุดของปิเปตต์ สามารถทำได้โดยปล่อยของเหลวออกจนหมด หรือถึงปลายสุดของปิเปตต์ เพื่อจะได้ปริมาตรของเหลวเท่ากับปริมาตรสูงสุดที่ปิเปตต์สามารถบรรจุได้
Highlight : ปิเปตต์ชนิด Serological Pipette จากแบรนด์ Borosil สามารถสังเกตได้จาก เส้นคู่ หรือ Two Ring บนปิเปตต์เพื่อแยกชนิดได้
อีกทั้งปลายปิเปตต์ยังมีจุดที่แตกต่างกันอีกด้วย คือ Mohr Pipette จะมีสเกลบอกปริมาตรก่อนถึงปลายปิเปตต์ เพื่อหยุดที่ขีดสเกลที่ต้องการ ส่วน Serological Pipette จะไม่มีสเกลสุดท้ายที่ปลายปิเปตต์ เนื่องจากเป็น"ปิเปตต์แบบปล่อยจนหมด"นั่นเอง !
Tips ! : การตวงปริมาตรสูงสุด แบบปล่อยให้ของเหลวไหลออกจากปิเปตต์จนหมด สามารถทำได้ 2 วิธี
การใช้การเป่า โดยใช้อุปกรณ์ในการการเป่าโดยเฉพาะ
ข้อดี :
การใช้แรงเป่าสามารถเร่งการไหลของของเหลวได้
สามารถเอาของเหลวออกได้หมดจริงๆ ไม่มีหยดสารละลายติดค้างบริเวณปลายปิเปตต์
ข้อเสีย :
อาจทำให้ปริมาตรคลาดเคลื่อน หากใช้กับปิเปตต์ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้แรงเป่า
เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากเครื่องมือที่ใช้เป่า
อาจทำให้เกิดฟองในของเหลว ซึ่งรบกวนการอ่านค่าหรือการทดลองต่อไป
การปล่อยให้ของเหลวไหลออกเอง
ข้อดี :
ให้ปริมาตรที่แม่นยำ
ลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากอุปกรณ์ที่ใช้เป่า
เหมาะสำหรับการวัดปริมาตรที่ต้องการความแม่นยำสูง
ข้อเสีย :
อาจใช้เวลานานกว่า ในการรอให้ของเหลวไหลออกจนหมด
อาจมีของเหลวเล็กน้อยติดค้างที่ปลายปิเปตต์
Note : โดยปิเปตต์ จากแบรนด์ Borosil เป็นแบบไหลออกเอง ถึงแม้อาจมีของเหลวเล็กน้อยติดค้างที่ปลายปิเปตต์ ก็ไม่ได้มีผลกับปริมาตรของสารที่จะได้ เนื่องจากผู้ผลิตมีการ Calibrate ปริมาตรของเครื่องแก้วมาให้แล้ว
แล้วทำไมต้องเลือก Pipette จาก Borosil ?
ปิเปตต์จาก Borosil ทำจากแก้วบอโรซิลิเกต Class A ซึ่งมีทนทานสูง และผ่านมาตรฐาน USP รวมถึงมาตรฐาน ASTM E-969-02 มีใบรับรองคุณภาพสำหรับแต่ละล็อตการผลิต ทำให้คุณมั่นใจในความแม่นยำ และคุณภาพ อีกทั้งยังมีปิเปตต์หลากหลายขนาด ตั้งแต่ 1-50 mL รวมถึงขนาดหายากอย่าง 4, 6, 7, 8, 9, 15 และ 30 ml อีกด้วย
“เลือกใช้ปิเปตต์จาก Borosil เพื่อความแม่นยำในงานวิจัยของคุณ”
หากสนใจผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วจากแบรนด์ Borosil 1ท่านสามารถสอบถามทาง เอเพกซ์ เคมิเคิล ได้ที่
Tel : 02-038-9999
Email : info@apexchemicals.co.th
Line : @ApexChemicals
เรามีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสั่งซื้อสารเคมีทุกขั้นตอน
#ApexChemicals #Glassware #Laboratory #Borosil #Borosiricate #Pipette