ความหมายของ MSDS หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย คืออะไร ? | ApexChem Blog Apex Chemicals
ความหมายของ MSDS หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย คืออะไร ?
Posted on 08 Oct 2024

 


 

หลาย ๆ คน อาจจะเคยได้ยิน หรือรู้จักเอกสาร MSDS กันมาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่าแม้จริงแล้วเอกสาร MSDS คืออะไร ? มีไว้เพื่ออะไร ?

ในบทความนี้ เอเพกซ์ เคมิเคิล จะพาทุกคนมาเจาะลึกข้อมูล MSDS หรือ Material Safety Data Sheet และเหตุผลที่เอกสารนี้เป็นสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึง การใช้งานสารเคมีอย่างถูกวิธี รวมถึงการจัดเก็บรักษา การป้องกันอันตรายการรักษาความปลอดภัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

 

MSDS คืออะไร  และมีความสำคัญอย่างไร ?
 


ความหมาย และความสำคัญของ MSDS

MSDS นั้นเป็นเอกสารที่ผู้ใช้งานสารเคมีใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ วิธีการจัดการ และการแก้ไขปัญหาของสารเคมี แต่ละหัวข้อจะมีข้อมูลที่สำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

 

1. ความปลอดภัยทางสุขภาพ : เอกสารจะระบุข้อมูลความปลอดภัยและคำแนะนำเพื่อใช้งานสารเคมีอย่างปลอดภัย อยู่ในหัวข้อที่ 2 (Hazards Identification)

 

2. การรับมือเหตุฉุกเฉินและปฐมพยาบาล : เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดมีความอันตรายต่างกัน ข้อปฏิบัติในการรับมือกับอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของแต่ละสารเคมีจะอยู่ในหัวข้อที่ 4 (First Aid Measures) และหัวข้อที่ 6 (Accidental Release Measures)

 

3. การจัดเก็บเคมีภัณฑ์ : การจัดเก็บที่ถูกต้องส่งผลต่อคุณภาพและความเสถียรของสารเคมี รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเก็บสามารถดูได้ในหัวข้อที่ 7 (Handling And Storage) และหัวข้อที่ 9 (Physical And Chemical Properties)
 

ดังนั้น MSDS (Material Safety Data Sheet) หรือ SDS (Safety Data Sheet) คือ เอกสารสำคัญที่จะมีข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี ซึ่งมีข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติ ความเป็นอันตราย และขั้นตอนการจัดการให้แก่ผู้ใช้งานเพื่อให้สามารถใช้สารเคมี หรือเคมีภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัย โดยในหัวข้อของความปลอดภัยสามารถแบ่งเป็น 16 หัวข้อหลักได้

 

Tips : แต่ก่อนจะไปดูว่า MSDS ทั้ง 16 ข้อมีรายละเอียดอะไรบ้าง เอเพกซ์ เคมิเคิล จะมาบอก "6 ข้อที่ควรโฟกัส" ที่เพียงอ่าน 6 หัวข้อนี้ ก็สามารถใช้สารเคมีอย่างถูกต้องแล้ว
 

6 หัวข้อ MSDS สำคัญที่ทุกคนควรรู้ !

จากทั้งหมด 16 หัวข้อของ MSDS จะมีหัวข้อที่ผู้ใช้งานสารเคมีควรรู้ทั้งหมดด้วยกัน 6 หัวข้อ(Section) เนื่องจากหัวข้อเหล่านี้จะช่วยทุกท่านให้ใช้สารเคมีได้อย่างปลอดภัยในทุกด้านตั้งแต่การเริ่ม จนถึงการกำจัดสารหลังใช้งาน 
 


ตัวอย่างเอกสาร MSDS ฉบับเต็ม สามารถคลิ๊กดูฉบับเด็มได้ ที่นี่

 


รายละเอียดของ MSDS ทั้ง 16 หัวข้อ

 

  1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิต (Product and Company Identification)
    จะมีรายละเอียดของข้อมูลประกอบด้วย

  • Product name / Product Description : ชื่อสารเคมี

  • Catalog No. : รหัสสินค้าสารเคมีของทางผู้ผลิต

  • Synonym : ชื่ออื่นที่เรียกสารเคมีตัวเดียวกัน

  • Recommended Use : คำแนะนำการใช้งานสารเคมี โดยอาจมีการระบุเป็นการใช้งานทั่วไปในห้องปฏิบัติการ หรือลักษณะการใช้เฉพาะงาน

  • Uses advised against : รายละเอียดการชี้แจงและยืนยันว่าไม่มีการใช้สารตั้งต้นในการผลิตที่ขัดต่อกฎหมายการควบคุม

  • Details of the supplier of the safety data sheet : รายละเอียดบริษัทผู้ผลิต โดยมีการระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่นที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงอีเมลของผู้ผลิต
     

  1. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazards Identification)
    จะมีรายละเอียดของข้อมูลประกอบด้วย

  • Classification of the substance or mixture  : ประเภทของสารเคมีซึ่งประกอบด้วย Physical hazards, Health hazards และ Environment hazards

  • Label Element : สัญลักษณ์แสดงอันตรายของระบบ GHS

  • Signal Word : คำที่ใช้เพื่อบ่งชี้ระดับความรุนแรงของความเป็นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเตือนผู้อ่านถึงความเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ 

  • Hazard statements : ข้อความระบุลักษณะความเป็นอันตรายของสารเคมี

  • Precautionary Statement : ข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้สารเคมี

  • Other Hazards : อันตรายเพิ่มเติม

  • NFPA (National FireProtection Association) : สัญลักษณ์เตือนภัยส่วนบุคคล เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบทราบว่าวัสดุนั้นเป็นอันตรายชนิดใด สามารถใช้บ่งบอกระดับความอันตราย ซึ่งถ้าหากตัวเลขสูง สารนั้นจะมีความเป็นอันตรายสูง
     

 

  1. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition, Information on Ingredients)

  • Substance : แสดงองค์ประกอบของสารเคมี พร้อมระบุหมายเลข CAS ของส่วนผสมทุกตัว เพื่อความสะดวกต่อการหาข้อมูลสาร
     

  1. มาตราการปฐมพยาบาล (First Aid Measures)

  • Description of first aid measures : วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหลังจากเกิดการสูดดมสารเคมี ผิวหนังสัมผัสสารเคมี หรือรับประทานสารเคมี เป็นต้น

  • Most important symptoms and effect, both acute and delayed : อาการและผลกระทบที่สำคัญ ทั้งแบบเฉียบพลัน และเกิดภายหลัง

  • Indication of any immediate medical attention and special treatment needed : บอกการรักษาพยาบาลทันทีและการรักษาพิเศษที่จำเป็น
     

  1. มาตรการผจญเพลิง (Fire Fighting Measures)

  • Extinguish media : ข้อมูลการดับเพลิงเกี่ยวกับรายละเอียดวัสดุที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการดับไฟ

  • Special hazards arising from the substance or mixture : อันตรายพิเศษที่เกิดจากสารเคมี

  • Advice for firefighters : คำแนะนำสำหรับนักดับเพลิง
     

  1. มาตรการจัดการเมื่อมีการรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental Release Measures)

  • Personal Precautions, Protective Equipment and Emergency Procedures : แสดงข้อควรระวัง อุปกรณ์ป้องกันอันตราย และขั้นตอนการปฏิบัตงานฉุกเฉิน

  • Environmental precautions : ข้อควรระวังด้านสิ่งแวดล้อม 

  • Methods and materials for containment and cleaning up : วิธีการและวัสดุสำหรับกักเก็บและทำความสะอาด

  • Reference to Other Section : อ้างอิงถึงหัวข้ออื่นๆ 
     

  1. ข้อปฏิบัติการใช้และการเก็บรักษา (Handling And Storage)

  1. การควบคุมการสัมผัสและป้องกันภัยส่วนบุคคล (Exposure Controls, Personal Protection)

  • Control Parameter : ค่าขีดจำกัดในการสัมผัสสารเคมีสำหรับผู้ปฏิบัติการ

  • ACGIH – Biological Exposure Indices : มาตรฐานตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับประเมินการสัมผัสสารเคมีในคนทำงาน

  • Exposure Engineering Controls :การควบคุมทางวิศวะที่เหมาะสม

  • Personal protective equipment : อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ต้องใช้ เช่น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) 

  • Hygiene Measures : มาตราการตามสุขอนามัย เช่น คำแนะนำให้ล้างมือหลังสัมผัสสารเคมี

  • Environment exposure controls : ข้อกำหนดการสัมผัสของสารเคมีกับสิ่งแวดล้อม 

  • Information on basic physical and chemical properties :คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ เช่น สถานะของสาร สมบัติการละลาย น้ำหนักโมเลกุล เป็นต้น
     

  1. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability And Reactivity)

  • Reactive : การเกิดปฏิกิริยาของสาร

  • Chemical stability : สภาวะที่เสถียรของสาร 

  • Possibility of hazardous reactions : ความเป็นไปได้ในการเกิดปฏิกิริยาอันตรายของสาร

  • Conditions to avoid : สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง

  • Incompatible materials : วัสดุที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวัสดุต่างๆอาจทำให้สารเคมีเกิดปฏิกิริยาอันตราย หรือเสื่อมสภาพ เช่น น้ำ อากาศ

  • Hazardous decomposition products : สารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัวของสารนั้น ๆ  
     

  1. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological Information)

  • Information on hazard classes defined in regulation (EC) No 1272/2008 : ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทความเป็นอันตรายตาม Regulation (EC) No 1272/2008
     

  1. ข้อมูลด้านระบบนิเวศ (Ecological Information)

  • Ecotoxicity effects : ความเป็นไปได้ของผลกระทบที่เกิดต่อแวดล้อมและสัตว์ต่าง ๆ 

  • Persistence and degradability : การเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการสลายตัวของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ในสิ่งแวดล้อม

  • Bioaccumulation potential : ศักยภาพในการสะสมทางชีวภาพ

  • Mobility in soil : การเคลื่อนย้ายในดิน

  • Ozone Depletion Potential : ปริมาณของสารที่สามารถทำลายชั้นโอโซนในชั้นบรรยากาศได้
     

  1. มาตราการกำจัดกาก หรือสารที่เหลือใช้ (Disposal Considerations)

  • Disposal methods : วิธีการกำจัดของเสียจากสารเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เหมาะสม

  • Waste from Residues/Unused Products : ของเสียที่ถูกจัดเป็นประเภทอันตราย จะถูกกำจัดตาม Wastes Control Act 

  • Specify disposal containers and methods: วิธีการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารนั้น ๆ 

  • Empty Container Warning : คำเตือนเกี่ยวกับภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้ว

  • วิธีการเคลื่อนย้ายสารอย่างปลอดภัย
     

  1. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport Information)

  • ข้อมูลการขนส่ง เช่น หมายเลข UN 

  • Road and Rail Transport : ข้อมูลการขนส่งทางบก

  • IATA : ข้อมูลการขนส่งทางอากาศ 

  • IMDG/IMO : ข้อมูลการขนส่งทางทะเล
     

  1. ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อกฏหมาย (Regulatory Information)

  • Safety, health and environmental regulations / legislation specific for the substance or mixture

  • ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อกับหน่วยงานราชการ

  • ปริมาณที่จัดเก็บได้ในสถานที่
     

  1. ข้อมูลอื่นๆ (Other Information)

  • ข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น คำแนะนำในการฝึกฝน

  • ข้อกำจัดในการใช้งาน หรือการใช้ที่ไม่เหมาะสม


 

 Q : MSDS สามารถค้นหาได้จากที่ไหน ? 

  • : คำตอบก็คือ MSDS สามารถหาได้จาก 2 แหล่งด้วยกัน ได้แก่

  1. Manufacturer or Supplier Websites : โดยทั่วไปทางผู้ผลิตจะมีเอกสาร SDS ควบคู่มากับสารเคมีที่ผลิตมาเพื่อความสะดวกของลูกค้าแต่ในบางบริษัทอาจต้องทำการติดต่อผู้ผลิตเพื่อขอเอกสาร SDS 

  2. Online SDS Databases : หากต้องการเอกสาร SDS สามารถหาได้ทางเว็บไซต์เหล่านี้ โดยการใส่ชื่อสารเคมี หรือ CAS Number. ของสารเคมี

 

เอ๊ะ! แล้ว MSDS และ SDS เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกันนะ?

โดย MSDS ย่อมาจาก Material Safety Data Sheet และ SDS ย่อมาจาก Safety Data Sheet คือ  เอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย ความเป็นพิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย แต่แตกต่างกันที่ MSDS เป็นชื่อที่เรียกมาตั้งแต่แรก ซึ่งข้อมูลขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศต่างกันออกไป โดยไม่มีการกำหนดหัวข้อ เกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นระบบเดียวกัน จึงเกิดปัญหาสื่อสารไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบ GHS ขึ้นมาใช้ให้เหมือนกันทั่วโลก เพื่อง่ายต่อการสื่อสาร และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น SDS ที่มีหัวข้อทั้งหมด 16 หัวข้อและเหมือนกันทั่วโลก

 

เอเพกซ์สรุปให้!

Safety Data Sheet หรือ SDS ถือเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับผู้ใช้สารเคมี เนื่องจากมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมี รวมถึงการนำเอกสารเหล่านี้ไปวางแผนดูแลและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีรายละเอียดทั้งหมด 16 หัวข้อในเอกสาร ซึ่งในแต่ละข้อมีความสำคัญที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน 

 

 


 

Reference