Derivatizing Agent ปฏิกิริยาการทำอนุพันธ์ คืออะไร ? | ApexChem Blog Apex Chemicals
Derivatizing Agent ปฏิกิริยาการทำอนุพันธ์ คืออะไร ?
Posted on 15 Nov 2024

ความลับที่อยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ที่แม่นยำ ที่ไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือที่มีราคาสูง และล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังมีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ทำให้การวิเคราะห์ หรือทดสอบของคุณมีประสิทธิภาพสูงขึ้น นั่นก็คือ “Derivatizing Agent” 

 

Derivatizing Agent ถูกนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิตยา อาหาร หรืออุตสาหกรรมเคมี โดยนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ และช่วยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสารให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไขมัน และน้ำมัน (Fat and Oil Industry) นั้น Derivatizing Agent ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในการตรวจสอบกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์


แล้ว Derivatizing Agent คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ? เอเพกซ์ เคมิเคิล จะพาทุกคนมาดูถึงบทบาท และประโยชน์ของ Derivatizing Agent ว่ามีอะไรบ้างที่สามารถเป็นตัวช่วยในการควบคุมประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ติดตามได้เลย..


 

บทบาทของ Derivatizing Agent 

Derivatizing Agent คือสารเคมีที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารประกอบเพื่อให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น เพิ่มความระเหย (Valatile) เพิ่มความเสถียร (Stable)  หรือเพิ่มความไวในการตรวจจับ (Sensitivity)  โดยการทำอนุพันธ์ (Derivatization) นั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้เครื่องมืออย่าง Gas Chromatography (GC) และ High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) สามารถแยกและวิเคราะห์สารประกอบที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ โดย Derivatizing Agent นั้นจะช่วยปรับเปลี่ยนสารที่ซับซ้อนหรือมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมให้อยู่ในรูปแบบที่ตรวจวัดได้ง่ายขึ้นนั่นเอง  

 

Q : แล้วในการวิเคราะห์ไขมัน และน้ำมันนั้น Derivatizing Agent มีความสำคัญอย่างไร ?

 

ความสำคัญของ Derivatizing Agent 

ในอุตสาหกรรมไขมัน และน้ำมัน การวิเคราะห์องค์ประกอบของกรดไขมันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ หรือน้ำมันจากปลา กรดไขมันเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถระเหยได้ในสภาวะปกติ 

 

ดังนั้น Derivatizing Agent จึงถูกนำมาใช้ เพื่อเปลี่ยนกรดไขมันให้อยู่ในรูป Fatty Acid Methyl Esters (FAMEs) ที่สามารถวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC (Gas Chromatography) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และเชื่อถือได้มากขึ้น

 

Tips ! : ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันธรรมชาติที่สามารถพบได้ในร่างกาย และในอาหาร ส่วน Fatty Acid Methyl Esters (FAMEs) เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันที่ได้จากการแปรรูปไตรกลีเซอไรด์ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Esterification ซึ่งจะเปลี่ยนกรดไขมันในไตรกลีเซอไรด์ ให้กลายเป็นเอสเทอร์ที่มีหมู่เมทิล (Methyl group) นั่นเอง 

 

กลุ่ม Derivatizing Agent ที่นิยมใช้

ในอุตสาหกรรมไขมัน และน้ำมัน Derivatizing Agent ที่นิยมใช้มักจะเป็นกลุ่มที่ทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน เพื่อสร้าง Fatty Acid Methyl Esters (FAMEs) ที่สามารถตรวจวัดได้ เช่น : 
 

  • Methylating Agents

กลุ่มสารที่ใช้เพิ่มหมู่เมทิล (methyl group) ให้กับกรดไขมัน ทำให้เกิดเป็น FAMEs เช่น Methanol + Sulfuric Acid หรือ Boron Trifluoride (BF₃) ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้ในการสร้างอนุพันธ์เมทิลเอสเทอร์

  • Alkylating Agents

ใช้ในการเปลี่ยนกรดไขมันให้เป็น Fatty Acid Methyl Esters (FAMEs) เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการระเหยและตรวจวัดได้ง่ายขึ้น เช่น Iodomethane (CH₃I) ที่ใช้สำหรับการเปลี่ยนหมู่คาร์บอกซิลของกรดไขมัน ให้เป็นเมทิลเอสเทอร์

  • Esterification Agents

เป็นกลุ่มที่ใช้ในการสร้างเอสเทอร์ (esters) จากกรดไขมัน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ที่ตรวจวัดได้ง่ายและมีความเสถียร

  • Acylation Agents

ใช้ในการเพิ่มหมู่เอซิล (acyl group) ให้กับสารประกอบกรดไขมัน ทำให้สารมีความเสถียรและสามารถตรวจวัดได้ง่ายขึ้นโดยไม่เสื่อมสภาพในระหว่างกระบวนการวิเคราะห์ โดยเฉพาะกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ไวต่อการเกิดออกซิเดชัน

  • Silylation Agents

ใช้เพื่อเพิ่มหมู่ซิลิล (silyl group) ให้กับกรดไขมัน เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติในการตรวจวัด โดยมักจะใช้ N,O-Bis(trimethylsilyl)trifluoroacetamide (BSTFA) ในกระบวนการนี้

 

ฉะนั้นการเลือกใช้กลุ่ม Derivatizing Agent แต่ละประเภท จึงขึ้นอยู่กับชนิดของกรดไขมัน และคุณสมบัติของสารที่ต้องการวิเคราะห์นั่นเอง

 

โดยในกระบวนการวิเคราะห์กรดไขมันด้วยเครื่อง Gas Chromatography (GC) นอกจาก Derivatizing Agent แล้ว ยังมีการใช้ Solvent ในการช่วยเตรียมสารละลาย และเตรียมตัวอย่างให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์อีกด้วย โดย Solvent ที่ใช้ร่วมกับเครื่อง GC นั้นควรมีความบริสุทธิ์สูง และไม่มีสิ่งเจือปนที่อาจส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ได้ 

 

ตัวอย่าง Solvent ที่นิยมใช้กับเครื่อง GC และ Derivatizing Agent

  • Hexane (เฮกเซน)

  • Dichloromethane (ไดคลอโรมีเทน)

  • Acetonitrile (อะซีโตไนไตรล์)

  • n-Butanol (บิวทานอล)

  • n-Heptane (เฮปเทน)

 

 

ปัจจัยที่ควรพิจารณาการเลือกใช้ Solvent  

  1. ความบริสุทธิ์ (Purity) : Solvent ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทาง GC ต้องมีความบริสุทธิ์สูง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสัญญาณรบกวนในการตรวจวัด

  2. ความสามารถในการละลาย (Solubility) : ควรเลือก solvent ที่สามารถละลายตัวอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนหรือการแยกชั้น

  3. ความเข้ากันได้กับ Derivatizing Agent : Solvent ต้องสามารถทำงานร่วมกับ Derivatizing Agent ได้ดีเพื่อให้กระบวนการ Derivatization สมบูรณ์

  4. จุดเดือด (Boiling Point) : Solvent ควรมีจุดเดือดที่เหมาะสมเพื่อให้การระเหยและการนำเข้าสู่ระบบ GC เป็นไปได้อย่างราบรื่น

 

Q : ถ้าอยากดูแลรักษา และคงสภาพของ Derivatizing Agent ให้มีคุณภาพคงที่ ควรจัดเก็บอย่างไร ?
 

  • การรักษาคุณภาพของ Derivatizing Agent เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อรับรองว่าผลการวิเคราะห์จะมีความแม่นยำ และเสถียร หาก Derivatizing Agent เสื่อมสภาพ การทำอนุพันธ์ของสารตัวอย่างอาจไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้การวิเคราะห์ผิดพลาดได้ 


 

เอเพกซ์ เคมิเคิลจะบอกถึง"เคล็ดลับการดูแล และจัดเก็บ Derivatizing Agent" ที่เหมาะสมให้กับคุณ..

  1. ปิดฝาทันทีหลังใช้งาน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับอากาศและความชื้น ซึ่งอาจทำให้สารเสื่อมสภาพหรือทำให้ประสิทธิภาพลดลง

  2. เก็บในที่แห้ง เย็น และหลีกเลี่ยงแสง โดยควรเก็บ Derivatizing Agent ในบรรจุภัณฑ์เฉพาะ และเหมาะสมกับสาร เช่น ภาชนะที่ทึบแสง และจัดเก็บในที่แห้ง และเย็นเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ไม่พึงประสงค์

  3. เก็บในบรรจุภัณฑ์เฉพาะ และปิดสนิท เนื่องจาก Derivatizing Agent มักมีความไวต่ออากาศ และความชื้น ดังนั้นควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการสัมผัสกับอากาศและปัจจัยภายนอกที่จะทำให้สารเสื่อมสภาพ

 

ดังนั้นการเลือกใช้กลุ่ม Derivatizing Agent แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารที่ต้องการวิเคราะห์ รวมไปถึงการเก็บรักษาที่เหมาะสม ก็ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพที่คงที่ และช่วยให้งานวิเคราะห์ได้ผลที่แม่นยำ และเสถียร เนื่องจาก Derivatizing Agent มักมีความไวต่ออากาศ และความชื้น ดังนั้นควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท อาทิ..

 

 


 

“Acroseal Packaging” นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จากแบรนด์ Thermo Fisher Scientific ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีสัมผัส
กับอากาศ และความชื้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้สารเคมีเสื่อมสภาพ หรือสูญเสียคุณภาพ 

 

Acroseal Packaging เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติในการปิดผนึกอย่างแน่นหนา ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ และน้ำ ซึ่งเหมาะสำหรับสารเคมีในกลุ่มที่มีความไวต่ออากาศอย่าง Derivatizing Agents เป็นอย่างยิ่ง..

 

อยากรู้คุณสมบัติ และการใช้งาน Acroseal Packaging แบบละเอียด สามารถอ่านได้ที่ : https://www.apexchemicals.co.th/blogDetails.php?id=521 


 

เอเพกซ์สรุปให้…

การเลือกใช้ Derivatizing Agent ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการวิเคราะห์มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเลือกใช้กลุ่มสาร Derivatizing Agent ที่เหมาะสม การเลือกใช้ Solvent ไปจนถึงการจัดเก็บสารเคมีในบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน 

 

ทุกขั้นตอนล้วนส่งผลต่อความแม่นยำของการวิเคราะห์ จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้อย่างดีเยี่ยม และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง

 


 

#ApexChemcials #สารเคมี #Derivatizing #DerivatizingAgent #ThermoSicentific #Acroseal #FattyAcid
#MethylatingAgents #AlkylatingAgents #EsterificationAgents  #AcylationAgents #SilylationAgents