ข้อต่อเครื่องแก้ว (Joint) ทำไมถึงมีหลายขนาด ? | ApexChem Blog Apex Chemicals
ข้อต่อเครื่องแก้ว (Joint) ทำไมถึงมีหลายขนาด ?
Posted on 02 Dec 2024

 

ในห้องปฏิบัติการ เมื่อพูดถึงเรื่องเครื่องแก้ว หลายคนอาจจะชินตากับอุปกรณ์พื้นฐานอย่าง บีกเกอร์ ขวดรูปชมพู่ หรือหลอดทดลอง แต่ความจริงแล้วนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีเครื่องแก้วที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะด้านอีกด้วย เช่น Condenser, Reaction Flask และ Distillation Column เป็นต้น 

 

ซึ่ง Condenser, Reaction Flask และ Distillation Column ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีข้อต่อ หรือ Joint เป็นส่วนประกอบ เพื่อป้องกันการรั่วซึม และเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นระบบข้อต่อ Cone และ Socket ซึ่งสามารถถอดเปลี่ยน และประกอบใหม่ได้อย่างสะดวก

 

แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ "ข้อต่อ" กันก่อนดีกว่า ว่าสรุปแล้ว Cone และ Socket ถึงพูดถึงเนี่ยคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ?

 


 

มาทำความเข้าใจกันว่า Cone และ Socket คืออะไร?

Cone และ Socket เป็นส่วนประกอบหลักของ Conical Joint ซึ่งพบได้บ่อยในเครื่องแก้วห้องปฏิบัติการ ทั้งสองส่วนนี้ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างการเชื่อมต่อที่มั่นคง และปลอดภัยในกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์

 

 

 

  • Cone (ข้อต่อตัวผู้) 
    เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นทรงกรวยเรียว ซึ่งทำหน้าที่สวมเข้าไปใน Socket ขนาดเดียวกัน เพื่อช่วยเพิ่มแรงเสีดทาน ให้อุปกรณ์สามารถยึดติดกันได้แน่นหนา โดยไม่ต้องใช้ตัวล็อคเพิ่ม


 

  • Socket (ข้อต่อตัวเมีย)
    มีลักษณะเป็นปลอกหรือช่องเปิด ซึ่งทำหน้าที่รับ Cone เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครื่องแก้วชิ้นอื่น ๆ 

 

โดยทั้งสองส่วนจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง และความยาวที่สอดคล้องกัน เพื่อช่วยลดการรั่วซึมของสารเคมี หรือไอระเหยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งาน และเพื่อให้การเชื่อมต่อแน่นหนาและปลอดภัย Cone และ Socket ต้องมีขนาดเดียวกัน ตัวอย่างเช่น : 

 

หากใช้ Cone ขนาด 24/29 จะต้องเลือกใช้ Socket ขนาด 24/29 เท่านั้น หากข้อต่อที่มีขนาดต่างกันจะไม่สามารถประกอบกันได้อย่างพอดี ซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึม หรือความไม่มั่นคงระหว่างการใช้งาน

 

 



 

การเลือกขนาด Cone และ Socket 
ซึ่งการระบุขนาดจะถูกแสดงในรูปแบบมาตรฐาน XX/YY แล้ว XX หรือ YY นั้นคืออะไร เรามาดูกัน

 

  • XX คือ "เส้นผ่านศูนย์กลาง"ของ Cone หรือ Socket ที่กว้างที่สุด (มิลลิเมตร)

  • YY คือ "ความยาวของ" Cone หรือ Socket (มิลลิเมตร)

    เช่น ข้อต่อ Conical Joint 24/29

ตัวเลขแรก (24) หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางของปลายกว้างของข้อต่อ (มิลลิเมตร)

ตัวเลขที่สอง (29) หมายถึงความยาวของข้อต่อที่สามารถสวมเข้ากันได้ (มิลลิเมตร)

 

ตัวอย่างขนาดที่นิยมได้แก่ 14/23, 19/26, 24/29, และ 29/32 ซึ่งมีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกเพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้ง่าย

 

 




 

 

Q :  ทำไมข้อต่อเครื่องแก้วจึงมีหลากหลายขนาด ?
        สาเหตุที่ข้อต่อของเครื่องแก้วมีหลายขนาดเนื่องจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ 
 

  1. อุปกรณ์เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการมีขนาด และการใช้งานที่แตกต่างกัน 

  2. การรองรับสารเคมี และกระบวนการต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

  3. ขนาดที่เหมาะสม ทำให้การเชื่อมต่อ และการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการรั่วซึมของสารได้ 

 

หลังจากที่ทุกคนได้รู้จักกับ Cone และ Socket ที่เป็นส่วนสำคัญของข้อต่อแล้ว ต่อมาเอเพกซ์จะพาทุกคนมาดูกันว่า การเลือกใช้ข้อต่อควรพิจารณาอะไรบ้าง รวมถึงยกตัวอย่างอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการที่มีส่วนประกอบเป็นข้อต่อ ให้ทุกคนได้เห็นภาพยิ่งขึ้น มาดูกันเลย.. 

  

ข้อควรพิจารณาในการเลือกข้อต่อ

  • เลือกขนาดที่เหมาะสม : เลือกข้อต่อที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อทำให้การเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพไม่แน่น และหลวมจนเกินไป สามารถถอดออกจากกันได้ง่าย

  • ตรวจสอบความเสียหาย : ตรวจสอบว่าข้อต่อไม่มีรอยขีดข่วน บิ่น หรือรอยแตก เพราะอาจส่งผลให้เกิดการรั่วซึม

  • วัสดุของข้อต่อ: เลือกวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมี และอุณหภูมิที่ใช้ในการทดลอง เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ หรือการแตกหักระหว่างการใช้งาน

 

Note !! : ง่ายกว่านั้น เพื่อให้คุณได้รับอุปกรณ์ที่ผลิตจากวัสดุที่สามารถทนต่อสารเคมีและอุณหภูมิ เอเพกซ์ ขอแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วจากแบรนด์ Borosil ผู้ผลิตชั้นนำจากประเทศอินเดีย ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ผลิตจากแก้ว Borosilicate 3.3 ซึ่งมีความทนทานสูง ปลอดภัย และใช้งานได้ยาวนาน อีกทั้งมีข้อต่อแก้วให้เลือกหลากหลายขนาด ตรงตามความต้องการของคุณ

 

 


 

เทคนิคการใช้งาน และบำรุงรักษาข้อต่ออย่างปลอดภัย
 

เพื่อให้การใช้งานข้อต่อเครื่องแก้วเป็นไปอย่างปลอดภัย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

  • การตรวจสอบ : ก่อนใช้งานทุกครั้งควรตรวจสอบข้อต่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพดี ไม่มีรอยแตกหรือบิ่น

  • การทำความสะอาด : ทำความสะอาดข้อต่อหลังใช้งานเพื่อป้องกันการปนเปื้อนหรือการสะสมของสารเคมี

  • การหล่อลื่น : สำหรับข้อต่อบางชนิด สามารถใช้สารหล่อลื่น หรือการทากรีส (Grease Application) เพื่อช่วยให้การเชื่อมต่อมีความแน่นหนา และป้องกันการรั่วซึม

  • ควบคุมอุณหภูมิ: เมื่อใช้ความร้อน ควรค่อยๆ ทำความร้อน และเย็นลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแตกหักจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว

Tips ! : การหล่อลื่นหรือการทากรีส (Grease Application) เป็นเทคนิคที่สำคัญในการใช้งานข้อต่อเครื่องแก้ว เพื่อช่วยเพิ่มความแน่นหนาในการเชื่อมต่อ และป้องกันปัญหาการติดแน่น (Seizing) ระหว่าง Cone และ Socket รวมถึงลดการรั่วซึมของสารเคมี หรือแก๊สในกระบวนการทดลองได้อีกด้วย

 

แต่มีข้อแม้ คือ อย่าใช้กรีสมากเกินไป เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนในสารเคมี หรือกระบวนการทดลองได้ อีกทั้งเลือกใช้กรีสให้เหมาะสม กับสารเคมี และอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการ เพราะกรีสบางชนิดอาจละลาย หรือเสื่อมสภาพ เมื่อสัมผัสกับสารเคมีบางประเภท


 

ตัวอย่างอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการที่ใช้ข้อต่อแบบกรวย (Conical Joint)


  • Condenser 

หรือหลอดควบแน่น ใช้ในกระบวนการควบแน่นไอระเหยกลับเป็นของเหลว โดยเชื่อมต่อกับ Reaction Flask หรือ Round Bottom Flask  ช่วยป้องกันการรั่วซึมของไอระเหย และสารเคมี อีกทั้งยังทำให้ระบบปิดแน่นหนา และปลอดภัย

  • Round Bottom Flask 

ขวดปฏิกิริยาทรงกลม หรือบางก็เรียกว่า Reaction Flask ใช้เชื่อมกับอุปกรณ์อื่น เช่น หลอดควบแน่น (Condenser) ในกระบวนการกลั่น ช่วยสร้างระบบปิดที่ปลอดภัย และลดการระเหย หรือรั่วไหลของสารเคมี 

  • Separating Funnel 

กรวยแยกสาร ใช้ในกระบวนการ แยกของเหลวที่มีความหนาแน่นต่างกัน เช่น น้ำมัน และน้ำ

  • Flask - Pear Shape Suitable for Rotary Evaporators

ขวดทรงลูกแพร์สำหรับ Rotary Evaporators ใช้ในกระบวนการ ระเหยสารตัวทำละลาย ในเครื่อง Rotary Evaporator 

  • Adapter

หรือข้อต่อเสริมมีหน้าที่ช่วยปรับขนาดข้อต่อ หรือเปลี่ยนทิศทางการเชื่อมต่อ การใช้ Adapter ช่วยให้การใช้งานเครื่องแก้ว มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลายประเภทได้

 

Tips ! : Stopper ของ Volumetric Flask แม้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ โดยตรงแต่ขนาดของ Stopper ก็ถูกผลิตตามขนาด และมาตรฐานเดียวกันกับ Conical Joint เช่น XX/YY 

 

ดังนั้นในแง่ของขนาด การใช้งานร่วมกันในบางกรณี และรูปทรง Stopper สามารถถือได้ว่า ใช้มาตรฐานเดียวกับ Conical Joint นั่นเอง  


 

ข้อดีของ Conical Joint

  • ป้องกันการรั่วซึม : ข้อต่อแบบ Conical Joint ช่วยลดการรั่วซึมของสารเคมีได้ดี เนื่องจากรูปทรงกรวยที่ทำให้ข้อต่อสวมเข้ากันได้แน่นหนา

  • ง่ายต่อการประกอบ และถอดออก : ข้อต่อประเภทนี้สามารถประกอบและถอดออกได้ง่าย ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้สะดวกเมื่อทำการทดลอง

  • หลากหลายขนาดให้เลือก : Conical Joint มีขนาดมาตรฐานที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้สามารถหาอุปกรณ์หรือข้อต่อขนาดที่ต้องการได้ง่าย

 

 


สนใจสินค้ากลุ่มเครื่องแก้ว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือปรึกษาการใช้งานได้ที่ช่องทางการติดต่อของเรา  

☎️ Tel : 02-038-9999

Email : info@apexchemicals.co.th 

Line : @ApexChemicals

เรามีผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้พร้อมให้คำปรึกษาตลอดการสั่งซื้อ

 

#ApexChemicals #Borosil #LabEquipment #ConicalJoint