HPLC และ LC-MS คืออะไร และต่างกันอย่างไร ? | ApexChem Blog Apex Chemicals
HPLC และ LC-MS คืออะไร และต่างกันอย่างไร ?
Posted on 11 Feb 2025

 

ในการวิเคราะห์ทางเคมี เทคนิค HPLC (High-Performance Liquid Chromatography) และ LC-MS (Liquid Chromatography-Mass Spectrometry) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบ และวิเคราะห์สารตัวอย่างที่มีความซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนายา การควบคุมคุณภาพอาหาร และการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม 

 

 

แต่ด้วย HPLC และ LC-MS เป็นเทคนิคที่มีจุดแข็ง และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านของความต้องการเฉพาะของการวิเคราะห์, ความไว (Sensitivity), ความจำเพาะ (Selectivity) และความซับซ้อนของสารตัวอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ และตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน

 

ในบทความนี้เอเพกซ์ เคมิเคิล จะพามาดูกันว่า HPLC และ LC-MS คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

 

 

HPLC หรือ High-Performance Liquid Chromatography 

เทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ที่ใช้ในการแยก, ระบุ และหาปริมาณสารประกอบที่อยู่ในตัวอย่างของเหลว โดยอาศัยหลักการแยกสารผ่านกระบวนการดูดซับและกระจายตัวของสารในคอลัมน์ (Column) ซึ่งประกอบด้วย 2 เฟส (Phase) ที่สำคัญ คือ

 

  1. Stationary Phase (เฟสคงที่) : ส่วนสารที่ถูกตรึงอยู่กับที่ในคอลัมน์หรือบนพื้นผิวรองรับ โดยเมื่อสารตัวอย่างผ่านเข้าไปในคอลัมน์ เฟสคงที่จะทำหน้าที่ดึงดูดหรือจับสารที่ต้องการแยกออกจากกัน

  2. Mobile Phase (เฟสเคลื่อนที่) : ของเหลวที่ไหลผ่าน เฟสคงที่ (Stationary Phase) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพาสารตัวอย่างผ่านคอลัมน์ เพื่อให้เกิดการแยกสารอย่างมีประสิทธิภาพ

 

Mobile Phase ประกอบด้วย ตัวทำละลาย (Solvent) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกสาร ทั้งในด้านการควบคุมการโต้ตอบระหว่างตัวอย่างและคอลัมน์ รวมถึงการลดสัญญาณรบกวน (Noise) เพื่อผลวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ

 

ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้ Solvent ที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญ เอเพกซ์ เคมิเคิล พร้อมนำเสนอ Solvent & Reagent HPLC Grade จาก Fisher Chemical  ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำในเครือ Thermo Fisher Scientific ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์งานวิเคราะห์ที่ต้องการความแม่นยำสูง ไม่ว่าจะเป็น

 

 


 

 

ซึ่งสารในตัวอย่างจะถูกแยกตามความเข้ากันของสารกับ Mobile Phase และ Stationary Phase โดยสารที่มีปฏิสัมพันธ์กับ Stationary Phase น้อยจะออกจากคอลัมน์ก่อน โดยแสดงผลการวิเคราะห์ในรูปแบบของโครมาโตแกรม (Chromatogram) ซึ่งแสดงพีคของสารแต่ละชนิดตามเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์  สามารถใช้วิเคราะห์หาปริมาณ ความเข้มข้น และองค์ประกอบของสาร ได้อย่างแม่นยำ

 


 

ตัวอย่าง พีค (Peak) บนโครมาโตแกรม (Chromatogram)

โดยแกน X แสดงเวลาในการกักเก็บ (Retention Time) ซึ่งเป็นเวลา (Minutes) ที่สารแต่ละชนิดใช้เคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์และถูกตรวจจับโดย Detector ส่วนแกน Y แสดงค่า Intensity บ่งบอกถึงปริมาณของสารที่ถูกตรวจพบนั่นเอง

 

Q : แล้ว LC-MS คืออะไร แตกต่างจาก HPLC อย่างไร ? 

 

 

LC-MS หรือ Liquid Chromatography - Mass Spectrometry

เป็นเทคนิคการวิเคราะห์สารผสมที่ผสมผสานระหว่าง การแยกสารในสถานะของเหลว ด้วยหลักการของโครมาโตกราฟี (HPLC) และการวิเคราะห์มวลโมเลกุล ด้วยเครื่องแมสสเปกโตรมิเตอร์ (Mass Spectrometer) ทำให้สามารถแยกสาร และวิเคราะห์โครงสร้างของสารได้ภายในกระบวนการเดียว โดยหลักการของ LC-MS นี้ประกอบด้วย สองส่วนสำคัญ ได้แก่

  1. Liquid Chromatography (LC) : ใช้หลักการเดียวกับ HPLC โดยแยกสารในตัวอย่างตามความเข้ากันกับเฟสคงที่ (Stationary Phase) และเฟสเคลื่อนที่ (Mobile Phase)

  2. Mass Spectrometry (MS) : หลังจากที่สารถูกแยกด้วยเทคนิค LC สารตัวอย่างจะถูกส่งต่อไปยังเครื่องวิเคราะห์ Mass Spectrometer ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เกิดประจุ และแตกตัวออกเป็นไอออน และวิเคราะห์มวลโมเลกุลของสาร ด้วยการวัดน้ำหนักโมเลกุล (Molecular Weight) และรายงานค่าเป็นขนาดมวลต่อประจุ (m/z) นอกจากนี้ยังสามารถระบุโครงสร้างสารประกอบ ที่ช่วยให้แยกแยะสารที่คล้ายคลึงกัน หรือสารที่มีปริมาณน้อยในตัวอย่างได้อย่างแม่นยำ

 

หรือสรุปก็คือ…

LC-MS คือระบบ HPLC ที่มีเครื่องตรวจวัดมวล (Mass Spectrometer, MS) ทำหน้าที่เป็น Detector  ติดตั้งเพิ่มเติม ซึ่งช่วยยืนยันองค์ประกอบของสารได้อย่างแม่นยำ โดย HPLC ทำหน้าที่แยกสารตามคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมี ในขณะที่ MS วิเคราะห์มวลโมเลกุล (Mass-to-Charge Ratio, m/z) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนในกระบวนการวิเคราะห์เดียวนั่นเอง

 

โดยผลลัพธ์จาก LC-MS จะแสดงในรูปแบบของ กราฟแมสสเปกตรัม (Mass Spectrum) ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับมวลโมเลกุล โดยรายงานค่าเป็น ขนาดมวลต่อประจุ (m/z) โดยสามารถใช้วิเคราะห์โครงสร้างของสารประกอบอย่างละเอียด

 

 

 

ตัวอย่าง กราฟแมสสเปกตรัม (Mass Spectrum)

 

และเพื่อให้การวิเคราะห์ LC-MS มีประสิทธิภาพสูงสุด! การเลือกใช้ Solvent และ Reagent เกรด LC-MS ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
เนื่องจากส่งผลโดยตรงต่อความแม่นยำ (Accuracy), ความไว (Sensitivity) และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของคอลัมน์ และเครื่องมือวิเคราะห์ได้อีกด้วย

 

ดังนั้น เอเพกซ์ เคมิเคิล ขอนำเสนอ Solvent & Reagent LC-MS Grade จากแบรนด์ Fisher Chemical

 


 

ถึงแม้ว่า HPLC และ LC-MS จะเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านการใช้งาน ความสามารถในการตรวจวิเคราะห์ และความซับซ้อนของเครื่องมือ การเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 

อีกทั้งในกระบวนการวิเคราะห์ด้วย HPLC และ LC-MS การเลือกใช้ Solvent หรือตัวทำละลาย ที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในฐานะ Mobile Phase ก็มีบทบาทสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อความแม่นยำ และประสิทธิภาพของการวิเคราะห์

เอเพกซ์ เคมิเคิลจะพาคุณมาดูว่า Solvent มีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้าง ?


 

 

บทบาทสำคัญของ Solvent
 

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการแยกสาร
    Solvent ที่เหมาะสมช่วยให้สารตัวอย่างแยกออกจากกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ส่งผลให้กราฟโครมาโตแกรม (Chromatogram) มีพีคที่คมชัดและง่ายต่อการวิเคราะห์

  • ลดสัญญาณรบกวน (Noise)
    การใช้ Solvent ที่มีความบริสุทธิ์สูงและเหมาะสมกับเครื่องมือวิเคราะห์ ช่วยลดการเกิดปัญหาสัญญาณรบกวน (Noise) ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของผลการวิเคราะห์ 

  • เพิ่มความไว (Sensitivity) และความแม่นยำ (Accuracy)
    คุณสมบัติของ Solvent มีผลโดยตรงต่อความไวในการตรวจวิเคราะห์ โดยเฉพาะใน LC-MS ที่ต้องการการวิเคราะห์ที่แมนยำและมี Sensitivity สูง

  • ลดความถี่การในบำรุงรักษาเครื่องมือให้ใช้งานได้นานขึ้น
    การเลือกใช้ Solvent ที่มีความบริสุทธิ์สูงเหมาะสมกับเครื่องมือวิเคราะห์ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของคอลัมน์ และเครื่องมือวิเคราะห์ 

 

ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้ Solvent ที่เหมาะสมกับแต่ละเทคนิค เช่น HPLC Grade หรือ LC-MS Grade จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

 

 

Q : Solvent เกรด HPLC และ LC-MS สามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ ?

  • : คำตอบคือ ได้ ในกรณีของการใช้ Solvent & Reagent LC-MS Grade ใช้แทน HPLC ได้ เนื่องจากมีความบริสุทธิ์และ sensitivity สูงกว่า ลดสิ่งปนเปื้อนที่อาจกระทบต่อผลการวิเคราะห์ คอลัมน์และเครื่องมือ ช่วยให้ผลวิเคราะห์แม่นยำ เสถียร และไร้สัญญาณรบกวน (Noise) จึงสามารถใช้กับ HPLC ได้ แต่ในทางกลับกัน Solvent เกรด HPLC ไม่สามารถใช้งานแทนเกรด LC-MS ได้ เนื่องจากมีความบริสุทธิ์ของสารต่ำกว่าเกรด HPLC รวมถึงในเอกสาร COA ไม่มีการรายงานค่าปริมารสารปนเปื้อนที่ตรวจพบ ส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวน และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนได้


ตัวอย่างการใช้งาน HPLC และ LC-MS

HPLC และ LC-MS ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม เนื่องจากความสามารถในการวิเคราะห์สารเคมีที่แม่นยำและตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะทาง เช่น

 

 

  • HPLC : ใช้ในการตรวจสอบความบริสุทธิ์ และวิเคราะห์หาหริมารสารสำคัญในอุตสากรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง รวมไปถึง อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

 

 

  • LC-MS :  ใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างที่อาจเจือปนอยู่ในสารตัวอย่าง เช่น

    • อุตสาหกรรมยา : ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณสิ่งเจือปนของยาสำเร็จรูป

    • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม : ตรวจสอบสารตกค้าง เช่น ยาฆ่าแมลง และสารพิษในอาหาร

    • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี : วิเคราะห์สารเติมแต่งในน้ำมันหล่อลื่น

    • อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : วิเคราะห์สารปนเปื้อนในเครื่องสำอาง

 

เอเพกซ์ สรุปให้...

HPLC และ LC-MS เป็นเทคนิคสำคัญในการวิเคราะห์ที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยการเลือกใช้ Solvent & Reagent ที่เหมาะสมกับเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์นั้น มีสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการแยกสาร ลดสัญญาณรบกวน และช่วยปกป้องเครื่องมือวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ และเสถียรสูงสุดนั่นเอง


 

พิเศษสุด ๆ !! สำหรับใครที่เห็นบทความนี้

เอเพกซ์ เคมิเคิล มอบโปรโมชันเด็ด ๆ สำหรับซื้อสินค้ากลุ่ม LC-MS จากแบรนด์ Fisher Chemical

เพียงเลือกซื้อสินค้า Methanol หรือ Acetonitrile ในเกรด LC-MS จำนวน 4 ขวดขึ้นไป คละกันได้

รับไปเลย Multiport caps มูลค่ากว่า 2,500 บาท ! จำนวน 1 ฝา ทันที !!

ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด !!!

 

 


 

หากสนใจผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

Tel : 02-038-9999

Email : info@apexchemicals.co.th 

Line : @ApexChemicals

เรามีผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมบริการคุณได้อย่างมั่นใจ